วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมทางดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย

  สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วการจัดกิจกรรมดนตรีให้เด็กไม่ใช่เพื่อให้เด็กเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถ
จุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กมีความรักในดนตรี มีพื้นฐานทางดนตรี ดนตรีที่นำมาจัดกิจกรรมให้เด็กมีดังนี้
           - การร้องเพลง รวมถึงการพูดคำคล้องจอง  การร้องเพลงมีทั้งให้เด็กร้องเดี่ยว   ร้องเป็นกลุ่ม
โดยเน้นที่น้ำเสียงของการร้องเพลง ไม่ใช่การตะโกน เพลงที่นำมาสอนต้องเป็นเพลงที่ง่ายๆ   ทั้งเนื้อ
ร้อง จังหวะ  เป็นเพลงร้องที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน
           - การฟังเพลง ควรให้เด็กได้ฟังเพลงทุกประเภท  เพื่อปูพื้นฐานทักษะการฟังให้กับเด็กตั้งแต่
เล็กๆ  เด็กจะได้คุ้นเคยกับเสียงดนตรี ทั้งเสียงสูง  ต่ำ  กลาง   เพลงที่มีเนื้อร้อง และเพลงบรรเลง
           - การเคลื่อนไหว   การเคลื่อนไหวเป็นการตอบสนองทางดนตรีของเด็ก เด็กได้ลงมือกระทำ
ในตอนแรกเป็นการเคลื่อนไหวง่ายๆ  ให้เด็กได้สนุกกับการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ  เป็นเพลงที่
มีเนื้อร้องหรือบรรเลง ก็ได้
           - การเล่น ควรให้เด็กเล่นเครื่องเล่นประกอบจังหวะที่มีเสียงระดับต่างๆ   และที่ไม่มีระดับเสียง
เช่น  ระนาด  กลอง  รำมะนา  ฉิ่ง  ฉาบ เป็นต้น หรือใช้เครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ใช้เอง
           - การอ่าน  ควรให้เด็กได้ใช้สัญลักษณ์ที่ง่ายไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์ทางดนตรี
           - ความคิดสร้างสรรค์  ความรู้สึกจากการฟังดนตรีเป็นการสร้างสรรค์ที่ควรจัดประสบการณ์ให้
กับเด็กทั้งการร้อง  การเคลื่อนไหว  การเล่น เป็นต้น

           การจัดกิจกรรมทางดนตรีให้กับเด็กจึงมีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับเด็ก

คุณค่าดนตรีต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

 ได้มีโอกาสอ่านข้อเขียนของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจวบกับที่บรรณาธิการจุลสารเพื่อนอนุบาลบอกว่า ฉบับที่ 5 จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับดนตรี จึงขอถือโอกาสนำข้อเขียนนี้มาแบ่งปันท่านผู้อ่าน
          ผลจากคุณค่าของเสียงดนตรีที่มีต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจของเด็ก นักจิตวิทยาสังคมต่างให้การยอมรับและได้กล่าวถึงคุณค่าของดนตรีไว้ว่า
         1. ดนตรีก่อให้เกิดความสว่างแก่จิตใจ ( Enlightenment)
         2. ดนตรีก่อให้เกิดความสุข ( Well - Being)
         3. ดนตรีก่อให้เกิดความผูกพันรักใคร่ ( Affection)
 
         ดนตรีเป็นศาสตร์ หรือวิชาที่ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นความรู้  ความจำ สังคม  ค่านิยม การคิดหาเหตุผล การสร้างสรรค์ การพัฒนากล้ามเนื้อ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  การพัฒนาตนเองให้เข้ากับกลุ่ม หรือสภาพแวดล้อมของสังคมต่าง ๆ ดนตรีจึงน่าจะเป็นวิชาเดียวเท่านั้นที่ทำให้เด็กสนุกสนานรื่นเริงอย่างเต็มที่  ทั้งการแสดงออกทางร่างกาย ความคิด ทางจิตใจ อารมณ์ และนอกจากนี้ ดนตรียังสามารถนำไปสัมพันธ์ เชื่อมโยงหรือบูรณาการ กับวิชาการ องค์ความรู้ และกิจกรรมต่าง ๆ  ประการสำคัญดนตรีเป็นตัวจักรที่ใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย ดังนี้ 
         ดนตรีช่วยเสริมสร้างพัฒนาด้านสุขภาพและพลานามัยของเด็กปฐมวัย
         การเล่นเครื่องดนตรีหรือการร้องเพลงของเด็กนั้น น่าจะไม่เพียงแต่นั่งร้องหรือขับร้องเท่านั้น แต่เด็กทุกคนชอบ และพอใจที่จะทำท่าทางประกอบไปด้วย เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยชอบเปลี่ยนอิริยาบทชอบการเคลื่อนไหว กระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะท่วงทำนองของเพลง ดังนั้น เพลงและดนตรีจึงสามารถใช้เป็นสิ่งเร้าเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหว ทั้งการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ การเคลื่อน ไหวแบบเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวเพื่อดนตรี การเคลื่อนไหวเพื่อนาฏศิลป์หรือการเต้นรำ รวมทั้งพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก แขน ขา ลำตัว นิ้วมือ และส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะ
         ดนตรี จะเป็นการช่วยพัฒนาให้เด็กมีร่างกายแข็งแรงและพลานามัยที่สมบูรณ์ อันจะเป็นผลเกี่ยวโยงไปสู่จุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่มุ่งให้เด็กพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กปฐมวัยปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข 
         ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ - จิตใจของเด็กปฐมวัย
         เพลงและดนตรีช่วยพัฒนาอารมณ์ของเด็กในแง่การให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน สดชื่น ร่าเริง ในวัยนี้เด็กยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง อาจทำให้เด็กเกิดความขัดแย้งหรือสับสน จึงทำให้เด็กมีปัญหาในด้านอารมณ์และจิตใจ    ดนตรีจะสามารถช่วยบรรเทาหรือปรับอารมณ์เด็กได้อย่างดี ดนตรีสามารถช่วยให้เด็กได้แสดงออกตามความต้องการความรู้สึกและความสามารถ ช่วยถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของเด็ก ช่วยให้เด็กผ่อนคลายความเครียด ดังจะเห็นได้จากการสังเกต   เวลาเด็กร้องเพลง เล่นกัน เด็กจะมีหน้าตายิ้มแย้ม เบิกบาน แม้เด็กบางคนจะมีอารมณ์หงุดหงิด แต่เมื่อได้ร้องรำทำเพลงหรือได้ฟังเพลงสักครู่ก็จะค่อยคลายความไม่สบายใจลง เพราะความไพเราะของเพลง ลีลาและท่วงทำนองเพลงจะช่วยกล่อมอารมณ์ของเด็กให้เพลิดเพลินเป็นปกติได้อย่างดี นอกจากนี้แล้ว ดนตรียังพัฒนาอารมณ์ของเด็ก เกิดความบันเทิงใจ เพลิดเพลิน เกิดจินตนาการกว้างไกล อารมณ์เยือกเย็น สุขุม รักสวยรักงาม เห็นคุณค่าของดนตรี รักในเสียงเพลง เสียงดนตรี จากการสัมผัสดนตรีอยู่ในโลกของดนตรี ไม่เกิดความเหงา เห็นเสียงเพลง เสียงดนตรีเป็นเพื่อน เด็กจะเกิดความนุ่มนวลอ่อนโยนขึ้น ไม่แข็งกระด้าง ไม่เห็นแก่ตัว มีอารมณ์สุนทรีย์ละเอียดอ่อน การพัฒนาทางอารมณ์ของเด็กจะได้รับการกล่อมเกลาไปทีละเล็กละน้อย จนมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม อันเป็นผลพวงจากดนตรีนั่นเอง ....

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553


ในทางชีววิทยา ความก้าวร้าวอาจถือได้ว่า 
เป็นสัญชาต ญาณชนิดหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ซึ่งช่วยในการอยู่รอดทำนองเดียวกับความง่วง ความหิว มีทั้งความก้าวร้าวที่เป็นการตอบสนองจากสิ่งกระตุ้นภายนอกที่ถูกแปลว่า อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ต่อคนหรือสิ่งที่ตนรักผูกพัน หรือรู้สึกเป็นเจ้าของ อย่างในสุนัขหรือสัตว์ผู้ล่าต่าง ๆ
อาจเป็นอาณาเขตทำมาหากิน หรือมาจากภาวะอารมณ์ ความคิด หรือการทำงานที่ไม่ปกติ หรือบกพร่องของสมองภายในของสิ่งมีชีวิตนั้นเองก็ได้
แต่การที่เราเชื่อว่า ความเป็นมนุษย์จะสูงส่งเหนือสัตว์ทั้งหลายเนื่องจากการรู้จักคิดอ่าน ทำให้มนุษย์มองความก้าวร้าวเป็นเรื่องที่ไม่ควรเหลือเชื่ออยู่เลย เชื่อว่า
ความคิดระดับมนุษย์สามารถยับยั้งหรือได้ทำลายความก้าวร้าวหมดไปจากสายพันธุ์แล้ว คล้ายกับเชื่อว่า รถดีจะไม่ปล่อยไอเสีย หากเรานำ 2 แนวคิดนี้มาผสมผสานกันและนำมาพิจารณาพฤติกรรม หรืออารมณ์ของเด็ก ของคนรอบข้าง หรือแม้แต่กับของตนเอง อาจทำให้เราได้   เข้าใจพิเคราะห์ ความก้าวร้าวรุนแรงที่เกิดขึ้นได้หลากหลายขึ้น

เด็กไม่ใช่ผ้าขาวแบบ เกิดมาไม่มีอะไรติดตัวมาเลย เพราะอย่างน้อยการเป็นผ้าขาวก็เกิดจากการถักทอใยผ้า มาก มาย แน่นอน เขามีสัญชาตญาณต่าง ๆ ที่สืบทอดมาหลายหมื่นหลายแสนปีติดมา และร่วมกับ กรรมพันธุ์ของพ่อแม่วงศาคณาญาติก็รวมอยู่ในเส้นใยที่ว่าขาวเหล่านั้นด้วย
คงสังเกตได้ว่า พ่อหรือแม่ที่ก้าวร้าวมีโอกาสที่ลูกไม้จะหล่น กลิ้ง อยู่แค่ใต้ต้นมากกว่าพ่อแม่ที่สงบ ๆ นิ่ง ๆ สิ่งเหล่านี้อาจเห็นได้ตั้งแต่เป็นเด็ก โดยที่อาจยังไม่ได้เห็นตัวอย่างจากพ่อแม่เลยก็ได้
ความก้าวร้าวเริ่มต้นของเด็กแรกเกิดอาจเป็นการแสดงการโกรธ หงุดหงิด ร้องไห้ เมื่อหิว เมื่อหนาวร้อน เมื่อเปียกเปื้อน เมื่อโตขึ้นอีกนิด ความก้าวร้าวอาจเห็นได้ไม่ใช่แค่เพื่อเอาชีวิตรอด แต่เกิดเมื่อไม่พอใจ ไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งชนิดของเรื่องราวที่มากระตุ้นและดีกรีของความก้าวร้าวจะต่างกันไปตามอายุของเด็ก เช่นเด็กเล็กการห้ามเอาของใส่ปาก ห้ามเดินไปใกล้บันได ก็น่าขัดใจแล้วในขณะที่เด็กโตหรือวัยรุ่น อาจเป็นเรื่องอยากได้มือถือ อยากเล่นเกม อยากไปไหนกับเพื่อน ซึ่งจะดูซับซ้อนมากขึ้น เพราะไม่ใช่แค่ขัดใจ ขัดอิสรภาพ แต่มีเรื่องของหน้าตาในสังคมมาแจมด้วย
เด็กบางคนที่ก้าวร้าวได้ง่าย รุนแรงหรือบ่อยกว่าคนอื่น อาจมีเหตุมาจากภายนอกคือ การได้เห็น หรือเป็นเหยื่อของความรุนแรงต่าง ๆ มา ซึ่งอาจจะมาจากทั้งในบ้าน ในโรงเรียน
(อาจเป็นระดับเพื่อนแกล้งกัน ไม่ว่าถูกลงมือลงไม้ ถูกไถเงิน ข่มขู่ให้ทำเรื่องต่าง ๆ หรือกีดกันรังเกียจไม่ให้คบเข้ากลุ่ม หรือระดับนานาชาติ แบบยกโรงเรียนตีกันเป็นประเพณี) หรือจากสื่อต่าง ๆ ที่มักอ้างว่าเรื่องจริงต้องสื่อให้อ่าน หรือเห็นสะใจ ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว แบบคนมายิงจ่อหัวกัน รุมตีกระทืบกัน หรือรูปอาชญากรรม แย่งแฟน เลือดสาดหัวขาด ซึ่งไม่ควรเสนอฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือลงภาพตีพิมพ์
 
เด็กอีกพวกอาจก้าวร้าวง่ายจากเหตุภายในเอง เช่นมีโรคไม่สบายเรื้อรัง ต้องกินยาหลายตัว ที่ทำให้พฤติกรรมรุนแรงขึ้นโดยตรง หรือถูกห้ามทำกิจกรรมต่าง ๆ จนไม่เหมือนเพื่อนเพราะกลัวป่วยมากขึ้น อย่างหอบหืด ไซนัส ลมชัก โรคทางสมองหรือโรคของต่อมไทรอยด์ ก็อาจเป็นเหตุของความก้าวร้าวได้ อย่างโรคพัฒนาการล่าช้าชนิดต่าง ๆ โรคชัก สมองอักเสบ เป็นต้น

พฤติกรรมเด็กก้าวร้าว

"เด็กก้าวร้าว" พฤติกรรมตามวัยจริงหรือ?

       การแสดงความก้าวร้าวของเด็กเล็กอาจเกิดขึ้นได้ เช่น พูดจาหยาบคาย ต่อว่า ไม่เคารพผู้อื่น ทุบตี หยิก กัด ผลัก ขว้างปา ทำลายสิ่งของหรืออาจรุนแรงถึงขั้นทารุณกรรมสิ่งมีชีวิตให้บาดเจ็บหรือล้มตาย และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการฝึกเด็กให้ละเมิดสิทธิผู้อื่นจนเกิดความเสียหาย ทางร่างกาย ทรัพย์สิน หรือทำให้ผู้อื่นกระทบกระเทือนจิตใจ 
       
       ทั้งนี้ ความก้าวร้าว อาละวาดง่ายในเด็กอายุ 2 - 5 ปีอาจเกิดขึ้นได้เพราะยังเป็นวัยที่ขาดการควบคุมอารมณ์ตนเอง หรือเด็กบางคนมีพื้นเพทางอารมณ์เป็นเด็กเลี้ยงยาก ปรับตัวยาก จึงเกิดความคับข้องใจและแสดงออกโดยการอาละวาดได้บ่อย ซึ่งสาเหตุของความก้าวร้าวอาจมาจาก
       
       1. สาเหตุทางชีวภาพ อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น พ่อแม่มีอารมณ์ร้าย ดุ ก้าวร้าว ฉุนเฉียวง่าย อาละวาดเก่ง หรือถ้าพบว่าเด็กแสดงออกอย่างก้าวร้าวมาก ๆ และเป็นบ่อย ๆ ควรคำนึงถึงโรคใดโรคหนึ่ง เช่น สมาธิบกพร่อง ไฮเปอร์แอคทีฟ ออทิสติก หรือสมองพิการ
       
       2. สภาพจิตใจของเด็ก เด็กไม่มีความสุข เศร้า กังวล ขี้ตื่นเต้น ตกใจง่าย เด็กที่คับข้องใจบ่อย ๆ และถูกกดดันเสมอ ๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กหงุดหงิดและอาจแสดงวาจากิริยาก้าวร้าวได้
       
       3. การเลี้ยงดูภายในครอบครัว
       - การทอดทิ้งไม่เอาใจใส่ดูแลเด็ก
       - การลงโทษรุนแรง
       - การตามใจและยอมตามเด็กเสมอ
       - การทะเลาะกันภายในครอบครัว
       - การยั่วยุอารมณ์ให้เด็กโกรธ
       - การขาดระเบียบวินัยในชีวิต
       - การที่เด็กทำผิดแล้วผู้ใหญ่ให้ท้าย
       - การสื่อความหมายไม่ชัดเจน ทำให้เด็กสับสน กังวล ไม่รู้จักความผิดที่แน่นอน
       
       4. จากสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม เด็กที่ดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิดีโอ ที่แสดงออกถึงความก้าวร้าวรุนแรง ไม่มีกิจกรรมอื่นที่เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อคลายเครียด เมื่อถูกเร้าให้เกิดความเครียดส่วนใหญ่ก็มักจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมก้าวร้าว ได้ง่าย
       
       นอกจากนี้ข่าวสารต่าง ๆ ปัญหาความเครียดในสังคม ท่าที ทัศนคติของเพื่อน คุณครู ฯลฯ ล้วนก่อให้เกิดความเครียดหรือเป็นแบบอย่างของความก้าวร้าวได้ทั้งสิ้น และเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ตลอดจนผู้เลี้ยงดูในการช่วยเหลือปรับพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กให้ดีขึ้นได้
       
       วิธีป้องกันและแก้ไข
       
       1. ผู้ใหญ่ต้องหยุดการกระทำอันก้าวร้าวของเด็กโดยทันที และต้องไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรงเพราะเป็นการสอนให้เด็กเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว เช่น หากเด็กมีการขว้างปาสิ่งของ หรือทุบตีผู้อื่น อาจจัดการให้เด็กหยุดด้วยวิธีสงบ เช่น จับมือรวบตัวเอาไว้ บอกสั้น ๆ ว่าตีไม่ได้ และของชิ้นนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อปา ในขณะเดียวกัน การพูดว่า "แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่เราไม่อนุญาตให้ตีกัน และแม่ก็ไม่อนุญาตให้น้องทำกับหนูเช่นกัน" จะเป็นตัวช่วยให้เด็กเข้าใจความรู้สึกโกรธ และหยุดยั้งการกระทำของเด็กได้ในเวลาเดียวกัน
       
       2. แนะนำทางออกอื่นให้เด็ก เช่น เมื่อเด็กโกรธกันขึ้นมา ก็สามารถเดินมาบอกผู้ใหญ่ให้ว่ากล่าวคู่กรณีได้ แต่ตีกันไม่ได้ เด็กจะเรียนรู้ว่า การก้าวร้าวเป็นสิ่งที่เราไม่ยอมรับ แต่เราเข้าใจความรู้สึกเขา และเตรียมทางออกที่เหมาะสมเอาไว้ วิธีนี้ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ แม้จะพบว่าเด็กมีอาการอีกเป็นครั้งคราวเพราะเด็กยังระงับอารมณ์ได้ไม่หมด
       
       3. ไม่ควรตอบตกลง หรือต่อรองกันในขณะที่เด็กมีอารมณ์หรือพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่า ผู้ใหญ่จะตอบสนองความต้องการของเขา เฉพาะในช่วงที่อารมณ์สงบ และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเท่านั้น
       
       4. ผู้ใหญ่ต้องระวังที่จะไม่มีอารมณ์ตอบโต้เด็ก หรือเอาชนะกัน
       
       5. การลงโทษเด็กไม่ควรใช้ความรุนแรง อาจใช้วิธีแยกเด็กอยู่ตามลำพังระยะหนึ่ง (Time Out : 1 นาทีต่อเด็กอายุ 1 ปี) โดยมีการสื่อให้เด็กเข้าใจว่า การรบกวนผู้อื่นเป็นสิ่งไม่สมควร เมื่อสงบแล้วค่อยมาพูดจากันใหม่ บางครั้งอาจใช้วิธีงดสิทธิบางอย่างเข้าช่วยด้วย
       
       6. ฝึกให้เด็กรับผิดชอบต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสมของตนเอง เช่น ซ่อมแซมของที่ชำรุดเสียหาย (โดยพิจารณาตามความเหมาะสมค่ะ)
       
       7. หลีกเลี่ยงการตำหนิ ต่อว่า เปรียบเทียบ ให้เด็กรู้สึกเป็นปมด้อย การขู่หรือหลอกให้กลัว ตลอดจนการยั่วยุให้โกรธ โดยผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างของความปรองดอง เป็นมิตรต่อกันให้เด็กเห็น

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทำไมต้อง เล่านิทาน-อ่านหนังสือ ให้ลูกฟัง

เป็นเรื่องที่พูดกันมานานโข เกี่ยวกับการเล่านิทาน และอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ส่วนใหญ่ก็พูดกันแต่ว่าจะทำให้เด็กฉลาด เปิดโลกกว้าง และต่างๆ นานา แต่ก็ยังไม่มีใครพูดให้ชัดเจนในเชิงหลักวิชาการว่า ฉไนเลย การเล่านิทาน และอ่านหนังสือให้ลูกฟังนั้น ทำให้เด็กฉลาดได้อย่างไร



นพ.อุดม เพชรสังหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมศักยภาพสมองของเด็กและเยาวชน และรองประธานฝ่ายพัฒนาวิชาการ บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด จะมาไขปริศนานี้ให้ฟัง
คุณหมออุดม อ้างผลงานการค้นคว้าของ อีริค อาร์ แคนเดล จิตแพทย์ชาวอเมริกัน เจ้าของโนเบล สาขาการแพทย์ ประจำปี 2543 จากผลงานการค้นคว้าวิจัยเรื่องการเรียนรู้และความจำมนุษย์ ได้สรุปผลงานตัวเองออกมาด้วยข้อความสั้นๆ ว่า “การเรียนรู้คือสิ่งที่ทำให้ เรา เป็นดังเช่นทุกวันนี้”
ความหมายคือ ความรู้ ความจำ ที่เราได้เรียน ได้รู้ จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวนั่นแหละคือสิ่งที่หล่อหลอมให้เราเป็นคนดี เป็นคนเก่ง เป็นคนมีน้ำใจไมตรี หรือแม้แต่เป็นคนขี้โกง
นอกจากนี้ อีริค ได้อธิบายการเรียนรู้ของเราด้วยการทำงานของเซลล์สมอง ว่า ขณะที่คนเราอยู่ในท้องแม่ เซลล์สมองจะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนกระทั่งก่อรูปเป็นก้อนสมอง อย่างที่เราเคยเห็นในหนังสือ หรืองานนิทรรศการต่างๆ แต่เซลล์สมองจะยังไม่ทำงานทันที จนกว่ามันจะงอกเส้นใยออกมาต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายเป็นวงจร เหมือนกับวงจรในเครื่องรับวิทยุ หรือคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ตามบ้าน

ในช่วงแรก พันธุกรรมที่เราได้รับจากพ่อแม่จะเป็นตัวควบคุมให้เซลล์สมองเหล่านี้แตกเส้นใยออกมาต่อเชื่อมกันเป็นวงจรเป็นเครือข่าย เพื่อทำหน้าที่บางอย่างในการมีชีวิตอยู่ของเรา เช่น ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ ควบคุมกาเต้นของหัวใจ ควบคุมการนอนหลับและตื่น ควบคุมให้ร้องเมื่อหิว หยุดร้องเมื่อกินอื่ม พันธุกรรมจะทำหน้าที่สั่งให้เซลล์สมองพัฒนาตัวเองให้ทำงานในหน้าที่เบื้องต้นเหล่านี้ ซึ่งถ้าไม่ทำหน้าที่นี้แต่แรกเราก็จะไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้
แต่นอกเหนือไปจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นการพัมนาภาษา การสื่อสาร การพัมนานิสัยใจคอ การพัมนาความคิด เหตุผล อารมณ์ ความชอบ ความเกลียด ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในภายหลังโดยผ่านการเรียนรู้ทั้งสิ้น
โดยในการเล่านิทาน พ่อแม่จะต้องใช้น้ำเสียงในการเปล่งคำพูด ต้องมีการแสดงท่าทางประกอบ เพื่อให้เด็กเข้าใจถึงความหมายที่สื่อออกมา เซลล์สมองของเด็กก็จะบันทึกท่าทางที่แสดงออกถึงเจตนานั้น เช่น บ๊ายบาย นอนหลับ กินข้าว เป็นต้น ร่วมกับน้ำเสียงที่เปล่งออกมา เก็บเอาไว้ในส่วนของความจำ
เมื่อท่าทางและคำพูดได้ถูกนำมาแสดงให้เห็นบ่อยๆ เด็กก็จะจดจำท่าทาง เสียงที่พูด รวมถึงความหมายของคำนั้นเป็นอย่างดี คราวต่อไปพ่อแม่เพียงแค่แสดงท่าทาง หรือเปล่งเสียง โดยไม่ต้องทำทั้งสองอย่างพร้อมกัน สมองส่วนความจำของเด็กก็จะระลึกได้ว่ามันคืออะไร และก็จะเข้าใจความหมายของคำนั้น หรือท่าทางนั้นๆ เอง

ส่วนเรื่องการอ่านหนังสือนั้น มีรายละเอียดไม่ต่างจากการเล่านิทานมากนัก เพียงแต่เรามีหนังสือภาพหรือนิทานมาประกอบด้วย อย่างเมื่อเวลาที่ พ่อแม่ชี้ไปที่ภาพ “ไก่” พร้อมกับพูดคำว่า “ไก่” ไปด้วยนั้น และชี้ไปที่คำว่า “ไก่” โดยอ่านให้เด็กฟังอย่างนี้บ่อยๆ สมองของเด็กก็จะบันทึกทั้งภาพ คำพูด และตัวอักษรไปพร้อมกัน ต่อไปเมื่อเด็กเห็นตัวไก่ ก็จะเรียกชื่อถูก เมื่อเจอตัวหนังสือก็จะอ่านออก
การเล่านิทาน อ่านหนังสือให้ลูกฟัง จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาภาษาที่ดีมากๆ สำหรับเด็ก และภาษานี่แหละคือเครื่องมือสำคัญที่ทำให้คนเราเรียนรู้ และถ่ายทอดความรู้ให้แก่กันและกันเรื่อยมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ทำให้เราฉลาดกว่าสัตว์ทั้งปวงในโลกนี้
ไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ก็พบว่า เด็กที่มีความสามารถทางภาษาสูงจะมีความจำดีกว่าเด็กที่มีความสามารถทางภาษาต่ำ เนื่องจากเด็กจะสามารถเรียบเรียงข้อมูลความรู้ให้เป็นภาษาได้ดีกว่า เพราะเก็บเป็นความจำและเป็นระบบมากกว่า
นอกจากนี้ เรื่องราวต่างๆ ที่เราเล่าหรืออ่านให้เด็กฟังนั้น บางเรื่องราวสะท้อนให้เห็นที่มาของเหตุแลผลที่เกิดขึ้น ทำให้เด็กมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ เด็กจะซึมซับและเลียนแบบสิ่งเหล่านี้ไปเป็นแบบอย่างสำหรับชีวิต ของเขาเอง โดยเซลล์กระจกเงาที่อยู่ในมองจะทำหน้าที่อันนี้ ถ้าเราเลือกหนังสือดีๆ มาอ่านให้ลูกฟัง แน่นอนนิสัยดีๆ ย่อมเกิดแก่ลูกของเรา
ข้อสำคัญ การที่เราเล่านิทานอ่านหนังสือให้เด็กฟังมันเป็นการแสดงออกว่าเรารักเขา เด็กที่รู้สึกว่าพ่อแม่รักก็จะเป็นเด็กที่มีความมั่นใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาศักยภาพและตัวตนของเด็กในอนาคต

เล่านิทานให้เด็กฟัง

มาเล่านิทานให้ลูกฟังกันนะคะ


นิทาน ภาพ เครื่องมือในการเลี้ยงลูก            นพ.อุดม เพ็ชรสังหาร นักจิตวิทยาเยาวชน กล่าวว่า การเล่านิทานให้เด็กฟังกับการอ่านหนังสือให้เด็กฟังแตกต่างกัน การเล่านิทานให้เด็กฟังไม่จำเป็นต้องใช้หนังสือเพราะสิ่งที่อยากให้เด็กคือให้เขาเกิดจินตนาการตามสิ่งที่พ่อแม่เล่า ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ไม่ต้องมีเครื่องมือ และที่สำคัญ การเล่านิทานก็เป็นภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาอ่าน ส่วนนิทานภาพเป็นการช่วยเสริมเพื่อให้เด็กได้เห็นภาพ และเริ่มมีวิธีคิดจินตนาการ " หมอมีหูฟังเป็นเครื่องมือ พ่อแม่ก็ต้องมีหนังสือภาพเป็นเครื่องมือในการเลี้ยงลูก" คุณหมอว่าอย่างนั้น

          สำหรับช่วงวัยของเด็กที่ควรได้รับการพัฒนานั้น ตามหลักวิชาสามารถทำได้ตั้งแต่อยู่ในท้องเพราะมีงานวิจัย ว่าเสียงตั้งแต่เด็กอยู่ในท้อง จะกระตุ้นให้เด็กเริ่มจำเสียงแม่ได้ ประสาทหูเริ่มทำงานตั้งแต่ 3 - 4 เดือน เพราะฉะนั้นตอนคลอดเด็กออกมาจะจำเสียงไม่ได้ " การได้ยินจึงเป็นตัวกลางสำคัญในการพัฒนาภาษา เพราะเด็กจะได้ยินเสียงและเลียนเสียงได้ถูกต้องอาจจะเป็นการร้องเพลงกล่อม หรือพูดคำว่า แม่รักลูกนะ แม่รักหนูจังเลย อย่าดิ้นสิลูก แม้เด็กอาจจะแปลไม่ได้ว่าหมายถึงอะไร แต่เขาจะรับรู้ถึงน้ำเสียงอยู่ในนั้น ตรงนี้เป็นการกระตุ้นประสาทการได้ยินพัฒนาขึ้นมาได้ หลังจากนั้นค่อยขยับมาเล่านิทาน การอ่านหนังสือให้เด็กฟังนั้น คุณหมอแน่ะนำ ว่าควรทำควบคู่กันไปเป็นการพัฒนาภาษาให้เด็ก" 


           ส่วนพ่อแม่ที่บอกว่าไม่มีเวลา คุณหมอ มองว่า อาจเป็นเพียงข้ออ้างมากกว่าแต่ " ต้องไม่ลืมว่า การทำมาหากินก็คือหน้าที่ การเลี้ยงลูกก็คือ หน้าที่ผู้ปกครองบางคนปฏิเสธความรับผิดชอบด้วยการให้ลูกดูทีวีนั้นถ้าสิ่งนี้กอดลูกเราได้ก็ดี หากแต่เพราะบรรยากาศในการเล่านิทาน หรือการอ่านหนังสือให้ลูกฟังตรงนั้น ไม่ใช่เพียงเสียงให้เข้าไปสัมผัสเด็ก ความรู้สึกได้รับจากเสียงที่พ่อแม่พูดคุยเวลาที่เขาเกิดปฎิสัมพันธ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอีคิว บุคลิกภาพของเด็ก สมมุติถ้าเป็นเทปให้เด็กฟัง แล้วเขาพัฒนาได้ครบถ้วนก็ไม่ต้องมีพ่อแม่ ที่สำคัญเด็กๆ ไม่ได้ต้องการแค่เล่านิทานสนุกๆ อย่างเดียว แต่เขาต้องการพ่อแม่ด้วย"


ส่วนใครหลายคนสงสัยว่าทำไมต้องเป็นนิทานก่อนนอนด้วย งานนี้เรามีคำตอบจากคุณหมออุดมว่า " เป็นเวลาผ่อนคลายที่สุดไม่ต้องเร่งรีบจะหยุดเมื่อไหร่ก็ได้อ่านแล้วเคลิบเคลิ้มก็หลับไปทั้งพ่อแม่และลูกถ้าอ่านก่อนไปโรงเรียนเดี๋ยวต้องรีบกุลีกุจอกลางคืนเป็นเวลาที่ดีที่สุดก่อนที่ทุกคนจะเข้านอน" นั่นเอง

เมื่ออ่านถึงตรนี้แล้ว....
คืนต่อไปเราคงได้เห็นภาพคุณพ่อคุณแม่กอดลูกไว้ในอ้อมแขน
พร้อมเสียงอันอบอุ่นที่ดังว่า...กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว.............นะคะ

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสนุกส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

 การสอนภาษาสำหรับเด็กเล็กให้เป็นเรื่องสนุกพร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ภาษานั้น ต้องทำกิจกรรมให้เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของเด็ก และต้องไม่ยากเกินความสามารถที่เขาจะทำเองได้ แต่ก็ต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ ที่สำคัญกิจกรรมต้องมีหลากหลาย เพื่อตอบสนองความแตกต่างของเด็ก ๆ

          1. เรื่องเล่าเช้านี้ (Morning Message) 
          เด็ก ๆ จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน ฝึกการใช้ภาษาหาข้อมูล และที่สำคัญการสนทนาทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้การใช้ภาษาที่ถูกต้องจากคุณครูด้วย และควรสอนมารยาทในการเป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดีให้เจ้าตัวน้อยทั้งหลายด้วย
          ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการได้สนทนากันตอนเช้าระหว่างคุณครูกับเด็ก และระหว่างกับเด็กด้วยกัน เพราะโดยธรรมชาติของเด็ก ๆ แล้ว มีเรื่องมากมายที่อยากจะเล่าให้คุณครูฟัง ดังนั้นเวลาในช่วงเช้าก่อนเริ่มต้นกิจกรรมอื่น ๆ เปิดเวทีสำหรับการพูดคุย โดยอาจจะเป็นหัวข้อใกล้ตัว เช่น ของที่เด็กๆ นำมา วันพิเศษ เหตุการณ์พิเศษในโรงเรียน เทศกาลต่างๆ หรือครูอาจจะกำหนดหัวข้อล่วงหน้ากับเด็ก ๆ ไว้ก่อน เพราะเขาจะได้มีเวลาหาข้อมูล อาจจะถามผู้ปกครอง หรือทดลองทำดู เพราะเวลาที่เด็ก ๆ เล่าเรื่องเขาจะกลายเป็นศาสตราจารย์ตัวน้อยผู้เชี่ยวชาญเรื่องที่ตัวเองพูด
         เด็ก ๆ จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน ฝึกการใช้ภาษาหาข้อมูล และที่สำคัญการสนทนาทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้การใช้ภาษาที่ถูกต้องจากคุณครูด้วย และควรสอนมารยาทในการเป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดีให้เจ้าตัวน้อยทั้งหลายด้วย
          2. อยากจะอ่านดังดัง (Reading Aloud)
         คุณครูเลือกหนังสือภาพสำหรับเด็กดี ๆ ที่เด็ก ๆ สนใจสักเล่ม แล้วจัดเวลาสำหรับการอ่านออกเสียงให้เด็ก ๆ เป็นประจำ เพราะช่วงเวลานี้เด็ก ๆ จะมีความสุขและรู้สึกดีต่อการอ่าน รวมทั้งกับตัวครูด้วยจัดเด็กเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยก่อนที่จะอ่านเนื้อเรื่อง คุณครูควรแนะนำให้เด็ก ๆ รู้จักชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ และควรชี้นิ้วตามไปด้วยเวลาอ่าน หรืออาจจะถามคำถามให้เด็ก ๆ คิด หรือเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า
         หลังจากเล่านิทานจบแล้ว คุณครูควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวกับนิทานเรื่องที่เล่า เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ทบทวนเนื้อเรื่อง และได้ทำกิจกรรมตามความสนใจ เช่นเตรียมภาพให้เด็กเรียงลำดับเรื่องราว หรือเตรียมสิ่งของที่มีอยู่ในนิทานเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เล่น ในกิจกรรมนี้เด็ก ๆ จะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ และสามารถคาดคะเนได้อีกด้วย 
         3. หนูเล่าอีกครั้ง (Story Retelling)
         หลังจากที่นิทานเรื่องสนุกจบลงอย่างมีความสุข ลองให้เด็ก ๆ ได้เล่านิทานกลับมาให้คุณครูและเพื่อน ๆ ฟัง บ้าง แต่ก่อนที่จะให้เด็กเล่าคุณครูต้องใช้คำถามกระตุ้นให้เด็ก ๆ จับใจความสำคัญ และเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ ก่อน หรือเวลาที่ครูเล่าอาจจะถามคำถามให้เด็ก ๆ ได้เชื่อมโยงกับประสบการณ์ตนเอง ถามคำถามให้เด็ก ๆ เดาเรื่องล่วงหน้า ตีความ และพอเล่าจบก็ทบทวนเนื้อเรื่องอีกครั้งด้วยการทำแผนผังนิทาน กล่องนิทาน ภาพตัดต่อนิทาน เป็นต้น เด็ก ๆ จะเกิดแรงจูงใจในการเรียนและได้ลงมือทำในเรื่องที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
         4. อ่านด้วยกันนะ  (Shared Reading)
         หนังสือภาพขนาดใหญ่หรือ Big Book จะเนรมิตความมหัศจรรย์ทางภาษาสำหรับเด็ก ๆ เพียงแค่คุณครูชวนเด็ก ๆ พูดคุยเรื่องที่จะนำมาเล่า เพื่อให้เจ้าตัวเล็กสนใจ และมีความรู้พื้นฐานก่อนฟัง จากนั้นจึงอ่านหนังสือให้เด็ก ๆ ฟังทั้งเรื่อง ชี้คำไปด้วย เพื่อให้เด็ก ๆ คุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ ข้อความ เมื่อเด็ก ๆ เริ่มคุ้นเคยคุณครูก็ปิดข้อความ ปิดคำ แล้วให้เด็ก ๆ ทาย หรือทำบัตรคำให้เด็ก ๆ ไปหาคำนี้ในหนังสือก็ได้
         เด็ก ๆ จะเรียนรู้ว่าคำและข้อความไม่ใช่รูปภาพ และหลังจากอ่านจบก็ทำกิจกรรมสื่อภาษากันในห้องเช่น ทำหนังสือนิทาน แสดงละคร หรือเกมภาษาเช่น หาชื่อตัวละคร การพูดตามเครื่องหมายวรรคตอน เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ : สื่อที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับเด็กปฐมวัย

คอมพิวเตอร์ : สื่อที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับเด็กปฐมวัย
เมื่อวงการศึกษาของเด็กปฐมวัย กำลังตื่นตัวในการจัดการศึกษา เพื่อรองรับโลกยุคข่าวสารไร้พรมแดน การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย จึงเป็นประเด็นที่พูดกันว่า มีความเหมาะสมอย่างไร เด็กมีความพร้อมทางด้านร่างกาย และสติปัญญาเพียงพอที่จะใช้คอมพิวเตอร์หรือยัง ดังนั้นเพื่อเป็น     ข้อมูลสำหรับพิจารณาว่า สื่อคอมพิวเตอร์นั้นจะเป็นสื่อที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับเด็กปฐมวัยจริงหรือ เรามาศึกษาและเรียนรู้แนวความคิดที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ของเด็กๆ ปฐมวัยกันค่ะ
การใช้คอมพิวเตอร์ของเด็กปฐมวัย
         เด็กจะเรียนรู้กิจกรรมจากคอมพิวเตอร์ในเรื่องเกี่ยวกับสัญลักษณ์ เพราะในชีวิตประจำวันเด็กก็ใช้สัญลักษณ์จากการสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษาในการเล่น และงานศิลปะอยู่แล้ว จึงเห็นว่า เด็กก่อนวัยเรียนควรได้รับประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ด้วย แต่ยังมีผู้วิตกว่า แนวคิดนี้เป็นการเร่งรัดเด็กหรือไม่ คำตอบประการหนึ่งคือ การใช้คอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นอันตรายเลย แต่เราก็ควรใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับเด็กตามระดับความสามารถของเขาเป็นสำคัญ
การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์
         ถ้าเด็กเล่นคอมพิวเตอร์ด้วยความรู้สึกสบายใจ มีความเชื่อมั่น และสนุกกับการเล่นแล้ว เด็กจะพัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการมี      ผู้ใหญ่คอยดูแล สนับสนุน ให้กำลังใจ และรู้จักเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมให้เด็ก
         นอกจากนี้ การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ควรให้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นกิจกรรมได้อย่างเสรี โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นมุมหนึ่งของห้องเรียนเช่นเดียวกับมุมไม้บล็อก มุมหนังสือ มุมศิลปะ มุมบ้าน มุมบทบาทสมมติ ฯลฯ จะเอื้อประโยชน์สำหรับการเรียนรู้ได้ดีกว่าการจัดให้เด็กแยกไปเรียนต่างหาก การจัดมุมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาการทางสังคม เพราะเด็กอาจจะนั่งหน้าจอด้วยกัน พูดคุย ช่วยกันแก้ปัญหา ร่วมกันตัดสินใจ ลองผิดลองถูก อีกทั้งเป็นการพัฒนาสติปัญญาและภาษาได้อย่างดี
การพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ และจิตใจ
         จากการวิจัยพบว่า เด็กอายุ 4 ขวบ สามารถช่วยอธิบายวิธีการแก้ปัญหาให้เพื่อนได้ และสามารถสาธิตให้เพื่อนดูได้ถูกต้อง และจากการสังเกตพบว่า เด็กได้เลียนแบบวิธีการสอนของครูมาช่วยเหลือเพื่อน ดังนั้นครูควรต้องระวังบทบาทขณะสอนเด็กๆ ให้เหมาะสมด้วย
         คอมพิวเตอร์จะช่วยพัฒนาเด็กได้มากในเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อสารและการเรียนรู้ การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นครูอาจช่วยกระตุ้นการทำงานร่วมกัน โดยจัดให้เด็กนั่งเป็นคู่หน้าเครื่อง และชักจูงให้ช่วยกันคิดในการทำงาน โดยไม่ใช่แข่งขันกัน
การพัฒนาด้านทักษะภาษา
         ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการฝึกการท่องจำสำหรับเด็กปฐมวัย จะช่วยเตรียมทักษะการอ่าน เพราะทำให้เด็กจำแนกตัวอักษร จำตัวอักษร และเรียกได้ถูกต้อง ทำให้รู้คำศัพท์มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โปรแกรมสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นได้มีการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่ควรให้เด็กได้รับการฝึกแต่ความจำเท่านั้น ผู้ใหญ่ควรเลือกโปรแกรมที่ใช้การสื่อสารสองทางได้ คือ คอมพิวเตอร์พูดได้ สามารถตอบสนองเด็กได้ ร้องเพลงได้ จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้น
         นอกจากจะมีคอมพิวเตอร์ที่ช่วยเตรียมทักษะด้านการอ่านแล้ว ยังมีโปรแกรมที่ช่วยในเรื่องภาษาเขียนของเด็กด้วย ซึ่งโดยปกติภาษาเขียนเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ไม่จูงใจในการสื่อสารสำหรับเด็ก แต่ในปัจจุบันนี้มีโปรแกรม Word Processor ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้การสื่อสารสองทาง เด็กจึงเรียนรู้ที่จะแก้ไขได้ด้วยตนเอง ภาษาเขียนของเด็กจึงได้พัฒนาตั้งแต่เริ่มรู้วิธีเขียนที่ถูกต้อง จนถึงขั้น      สื่อสารได้ จึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการเขียน ลดปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อนิ้วมือยังไม่แข็งแรง และลดความกังวลใจว่าจะเขียนผิด ถ้าครู คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองให้การสนับสนุนและดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
การพัฒนาด้านคณิตศาสตร์ และการแก้ปัญหา
         เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับการจำแนกแยกแยะสี รูปทรง ตัวเลข ตลอดจนรู้จักการเรียงลำดับ มิติสัมพันธ์ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวกระตุ้นได้ดี
         โปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ไม่ใช่เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับความจำที่เน้นถูก–ผิด เป็นหลักเท่านั้น แต่ควรเป็นโปรแกรมที่ท้าทายในการแก้ปัญหา โดยให้เด็กสามารถสร้างทางเลือก ตัดสินใจ ที่จะหาวิธีในการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นการพัฒนาความคิด บทบาทของครูสำหรับเด็ก คือ ครูจะต้องกระตือรือร้นที่จะสนุบสนุนป้อนคำถาม กระตุ้น และสาธิตให้เด็กเกิดความคิด

ข้อควรคำนึงในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับเด็กปฐมวัย
         1) โปรแกรมจะต้องเหมาะสมสำหรับเด็ก การนำโปรแกรมที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมาใช้กับเด็ก เพื่อให้เป็นเด็กอัศจรรย์ (Super Kid) เป็นการสร้างควากดดันให้กับเด็กมากกว่าจะเป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
         2) ควบคุมเวลาในการใช้ เพราะเด็กอาจจะเพลิดเพลิน และถ้าเด็กอยู่ใกล้เกินไปจะเสียสายตา จนถึงขั้นตาเสื่อมได้
         3) ควรเลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ การเล่นคอมพิวเตอร์ ควรใช้จอของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงจะดีกว่าการเล่นกับจอทีวี เพราะจอคอมพิวเตอร์เป็นจอที่ละเอียดกว่า และมีการกรองแสงด้วย ซึ่งช่วยถนอมสายตาเด็กได้
         4) ควรสอนเด็กให้รู้จักวิธีการเปิด–ปิดเครื่องและวิธีการใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย และรู้จักการถนอมเครื่องด้วย
         การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่จะนำมาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ประเด็นสำคัญอยู่ที่คุณครู คุณพ่อคุณแม่  ผู้ปกครอง ต้องมีบทบาทสำคัญในการพิจารณาอย่างรอบคอบ มีความพร้อมทั้งในแง่ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการสอน และผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก และควรตระหนักว่า คอมพิวเตอร์เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ไม่ใช่เร่งรัดให้เด็กประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจนเกินวัย และไม่ควรนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพียงเพื่อเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพราะจะทำให้เด็กในวัยเรียนสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อาการไม่สบายต่างๆ


อาการโคลิก
การร้องไห้ของเด็กเพื่อเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ถือเป็นเรื่องปกติ บางเวลาเด็กเล็กอาจร้องไห้เมื่อไม่พอใจ ไม่แน่ใจ กลัว ต้องการความช่วยเหลือ เหนื่อยล้า โกรธ โมโห หรืออื่นๆอีกหลายสาเหตุ
อาการโคลิก คือ อะไร
อาการโคลิก คือ อาการที่เด็กร้องไห้มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน พบได้ทั้งในเด็กที่กินนมแม่และนมผสม
จากการศึกษาพบว่า 30 % ของเด็กจะมีอาการโคลิกในช่วงที่มีอายุสัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 4
คุณจะทราบได้อย่างไรว่าเด็กมีอาการโคลิกลูกของคุณมีอาการโคลิก ถ้ามีอาการแสดงดังต่อไปนี้
ร้องไห้มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 3 วันต่อสัปดาห์
บางครั้งกรีดร้องและไม่สามารถปลอบโยนได้ ช่วงเวลาที่แย่สุด คือ ช่วงบ่ายแก่ๆและช่วงเย็น
ดึงแขนหรือขาเด็กเบาๆเพื่อไล่ลมในท้องของเด็ก คุณอาจสังเกตเห็นว่าท้องของเด็กมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโคลิกไม่มีใครรู้สาเหตุที่แน่นอนว่าอาการโคลิกเกิดขึ้นได้อย่างไร
อาการแสดงที่เกิดขึ้น
บางคนมีความเชื่อว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากอาหาร หรือโปรตีนจากนมวัวที่ร่างกายเด็กไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ เด็กที่ดูดนมแม่ก็อาจพบอาการโคลิกได้เช่นกัน เนื่องจากผลของการรับประทานอาหารของแม่เองด้วย
บางคนเชื่อว่าเด็กจะมีอาการโมโห หงุดหงิด เพราะว่ามีลมเน้นเฟ้ออยู่ภายในท้องของเด็ก ซึ่งคุณแม่ต้องช่วยไล่ลมในท้องเด็กทุกครั้งหลังจากดูดนมอิ่มแล้ว
อาการโคลิก เป็นอาการที่น่าวิตกหรือเปล่าบางกรณีอาการโคลิกนี้อาจแสดงถึงปัญหา หรือแสดงอาการของโรคทางการแพทย์ เช่น โรคเกี่ยวกับอวัยวะภายในช่องท้อง ถ้าคุณเชื่อว่าลูกของคุณมีอาการโคลิกที่มากกว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้แน่ใจว่าปัญหาโคลิกนี้เกิดจากสาเหตุใด
อาการโคลิก เริ่มเกิดขึ้นเมื่อใด
โดยปกติแล้วอาการโคลิก มักเริ่มเกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกและจะเกิดขึ้นบ่อยในปลายเดือนที่ 3 และ 4
อาการโคลิก รักษาอย่างไร
อาการโคลิกอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังนั้นวิธีการรักษาไม่ได้มีเพียงวิธีการเดียวขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน เพราะว่าเด็กแต่ละคนมีอาการแสดงที่แตกต่างกัน
ถ้าสาเหตุเกิดจากการแพ้น้ำตาลแลคโตสหรือแพ้อาหาร วิธีช่วย คือ ให้เปลี่ยนอาหารหรือเปลี่ยนนม
สำหรับแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารที่แม่รับประทานอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดอาการโคลิก เช่น กระหล่ำปลี หัวหอม และกระเทียม คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภค
ถ้าคุณเลี้ยงลูกด้วยนมผสม คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเปลี่ยนนม อาจเปลี่ยนมาใช้นมผสมที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลแลคโตสที่อาจจะช่วยให้อาการโคลิกดีขึ้น ดูรายละเอียดในหัวข้อการเลือกนมสำหรับเด็ก
คุณควรรับมืออย่างไรดี
คุณควรลองทำตาม วิธีดังต่อไปนี้:
อุ้มเด็กอยู่กับคุณเสมอ การอุ้มและโยกตัวเด็กให้เคลื่อนไหวไปพร้อมกับตัวคุณอาจช่วยให้เด็กหยุดร้องไห้

ลองอุ้มเคลื่อนไหวเด็กอย่างเป็นจังหวะหรือเต้นตามเสียงเพลง และควรให้เด็กสวมเสื้อผ้าที่แห้งไม่อับชื้น

ให้เด็กอยู่เงียบๆในห้องที่ทำให้เด็กรู้สึกสบาย

วางเด็กนั่งลงบนตัก ลักษณะคว่ำแล้วลูบหลังเบาๆ

ห่อตัวเด็กด้วยผ้าห่ม เพื่อทำให้อบอุ่น สบาย และรู้สึกปลอดภัย

อาจหาพี่เลี้ยงเด็กมาช่วยเลี้ยงลูก เพื่อให้เรารู้สึกผ่อนคลายไม่เครียดเกินไป

อาหารเสริม

 


อาหารเสริมสำหรับทารก
การเลี้ยงทารกด้วยอาหารเสริม หรือการใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก อาจจำเป็นในกรณีที่คุณไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้  สำหรับคุณแม่ที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมด้วย คุณอาจใช้วิธีป้อนนมแม่ด้วยขวดนม ซึ่งแม่บางคนจะบีบเก็บน้ำนมเอาไว้ช่วงเช้าก่อนออกไปทำงาน โดยเก็บไว้ในถุงเก็บน้ำนมหรือขวดนมซึ่งแช่ไว้ในตู้เย็น
การให้อาหารเสริมทารก ไม่ใช่การให้เด็กดื่มนมผสมหลังจากที่คุณให้นมแม่เสร็จแล้ว คุณควรใส่ใจกับการให้อาหารเสริมแก่ทารกที่อาจส่งผลกระทบกับการที่ลูกน้อยอาจได้รับนมแม่ลดน้อยลง  ถ้าลูกน้อยยังคงมีอาการหิว หรือรู้สึกไม่อิ่มหลังจากดูดนมแม่แล้ว คุณอาจให้ทารกดูดนมสลับข้าง หรืออาจใช้วิธีให้ทารกดูดนมแม่บ่อยมากขึ้น
การเลือกอาหารเสริมทารก
คุณควรปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับอาหารเสริมทารก คุณควรจะเลือกนมให้เหมาะสมกับลูกของคุณมากที่สุด แน่นอนว่านมแม่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการเลือกระหว่างนมแม่หรือนมผสมนั้น คุณแม่เป็นคนตัดสินใจเองและคุณควรปฏิบัติภายใต้คำแนะนำของแพทย์
ถ้าคุณเลือกให้อาหารเสริมทารก แพทย์สามารถแนะนำวิธีการเลือกนมผงสำหรับทารกสูตรที่มีสารอาหาร โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับทารก นมผงสูตรที่มีความใกล้เคียงกับน้ำนมแม่มากที่สุด เพราะว่าจะช่วยให้ทารกมีการย่อยที่ดี และสามารถกำจัดส่วนเกินทิ้งได้ปกติที่ไต
ถ้าคุณเลือกให้นมผสม แพทย์อาจแนะนำนมผงดัดแปลงสำหรับทารกสูตรมาตรฐานที่สกัดมาจากนมวัว โดยมีการดัดแปลงโปรตีนในนมวัวให้ใกล้เคียงกับโปรตีนในนมแม่ เพื่อให้ทารกย่อยง่าย ขับถ่ายได้ง่าย รวมถึงมีการเติมสารอาหารต่างๆลงไปด้วยทั้งวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วนตามความต้องการของทารก
ทารกบางคนอาจมีอาการแพ้นมวัว หรือมีปัญหาในการย่อยโปรตีนในนมวัว สำหรับทารกกลุ่มนี้อาจต้องใช้นมถั่วเหลืองแทน คุณควรปรึกษาแพทย์อีกครั้งเพื่อขอข้อมูลที่ดีที่สุด
การเริ่มต้นให้อาหารเสริม
คุณควรระวังในการใช้อาหารเสริมทารกบางอย่าง ที่ไม่สมควรนำมาใช้ทดแทนนมแม่ คุณควรเริ่มหัดให้ทารกรับประทานอาหารหยาบในบางมื้ออาหารเมื่ออายุ 4 - 6 เดือน คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาหารเสริมที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
สิ่งที่คุณควรทราบ นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย
นมวัวสดไม่เหมาะสมสำหรับทารก
นมวัวสดไม่เป็นอาหารเสริมที่ดีสำหรับทารก แต่จะเหมาะสมกับเด็กโตและผู้ใหญ่ นักวิจัยพบว่าทารกที่มีอายุน้อยกว่า 12 เดือนต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนและจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต นมวัวสดจึงไม่เหมาะสม
นมวัวสดไม่มีสารอาหารที่เหมาะสมตามความต้องการของทารกแรกเกิด อาจทำให้เกิดการขาด ธาตุเหล็ก ที่เป็นส่วนสำคัญของการสร้างเม็ดเลือดแดงและพัฒนาการทางอารมณ์
นมวัวสดมีโปรตีนที่มากเกินไป ไม่เหมาะสมกับระบบย่อยอาหารและระบบการขับถ่ายของเสียของทารก
นมวัวสดไม่มีสารอาหารที่จำเป็น ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงสำหรับทารกในช่วงขวบปีแรก

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก

ในเด็กเล็ก การพัฒนากล้ามเนื้อของข้อมือยังไม่ดีนัก เด็กจึงไม่สามารถแปรงฟันให้สะอาดอย่างทั่วถึงทุกซี่ทุกด้าน หรือว่าผู้ที่เลี้ยงดูเด็ก
ควรแปรงฟันให้ พร้อมกับการฝึกให้เด็กแปรงฟันหน้ากระจกเงา เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงวิธีการแปรงฟันให้สะอาดอย่างทั่วถึง ร่วมกับปล่อยให้
เด็กแปรงฟันด้วยตัวเองบ้าง เมื่อเด็กอายุประมาณ 7-8 ขวบ จึงสามารถปล่อยให้เด็กแปรงฟันเองได้ เพราะว่าเด็กจะมีพัฒนาการข้อมือที่ดี
เพียงพอแล้ว
     การแปรงฟันให้เด็กเล็กมาก ๆ ควรให้เด็กอยู่ในท่าที่สบาย โดยมากจะให้เด็กนอนตักในที่ที่มีแสงสว่างพอเพียง แล้วแม่หรือพี่เลี้ยงดูจึง
แปรงฟันให้เด็ก เมื่อเด็กโตขึ้น วิธีที่นิยมคือ ผู้แปรงฟันให้เด็กอยู่ด้านหลังเด็ก แล้วใช้มือด้านซ้ายจับคางเด็ก เพื่อให้เด็กนิ่งและเงยหน้าเล็ก
น้อย วิธีแปรงฟันให้เด็กเล็ก ให้วางขนแปรงตั้งฉากกับฟัน แล้วถูไปมาในแนวขวาง โดยขยับไปมาสั้น ๆ แล้วจึงเลื่อนแปรงยังตำแหน่งถัดไป
และควรแปรงฟันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ไม่หลงลืมในการแปรงฟันบางด้านไป โดยการเริ่มแปรงฟันจากฟันบนด้านที่ติดแก้มขวาสุด วนมา
ทางซ้ายแล้วเริ่มแปรงฟันล้างที่ติดแก้มด้านซ้ายวนมาทางขวา แล้วจึงแปรงด้านบนเพดานปากวนในลักษณะ เช่นเดิม จากนั้นจึงแปรงด้าน
ที่บดเคี้ยวทั้ง 4 ด้าน ด้วยการถูไปมาขั้นสุดท้ายคือ แปรงลิ้นให้เด็กด้วยการปัดขนแปรงออกเบา ๆ ที่บริเวณด้านบนของลิ้น ในการแปรงฟัน
ให้เด็ก ควรใช้นิ้วมือข้างที่จับคางเด็กช่วยกันกระพุ้งแก้มเด็กในบริเวณที่แปรงฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้แปรงสีฟันกระแทกกับเนื้อเยื้ออ่อนใน
ปากเด็ก
     การแปรงฟันในเด็กยังไม่จำเป็นต้องใช้ยาสีฟัน เพราะว่าเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ ยังควบคุมการกลืนยังไม่ดีนัก โดยเด็กส่วนใหญ่จะกลืน
ยาสีฟันขณะที่แปรงฟัน ซึ่งหากเป็นยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ การกลืนยาสีฟันบ่อย ๆ อาจทำให้เด็กได้รับปริมาณสารฟลูออไรด์มาก
เกินไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อฟันที่กำลังสร้างตัว ทำให้เกิดฟันตกกระได้ หากต้องใช้ยาสีฟันก็ควรเลือกใช้ยาสีฟันของเด็ก ซึ่งมีส่วนผสมของฟลู
ออไรด์น้อยกว่าของผู้ใหญ่ และใช้แตะขนแปรงเพียงเล็กน้อย หรือ ขนาดไม่เกินเม็ดถั่วเขียวก็พอแล้ว
     ควรดูแลเรื่องอาหารให้เด็ก เพื่อป้องกันฟันผุ เพราะว่าอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลนั้นเป็นต้นเหตุสำคัญในการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็ก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลทรายในขนมจะทำให้เกิดโรคฟันผุได้มากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น ๆ และเด็ก ๆ มักที่จะชอบขนมหวาน ดังนั้น จึงควรให้
การเอาใจใส่การดูแลเรื่องการรับประทานขนมหวานให้เด็กเล็ก โดยไม่ควรให้เด็กรับประทานน้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ทอฟฟี่ ขนมปัง
อบกรอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้าเด็กเคยรับประทานตั้งแต่เด็กก็มักจะติดใจในรสชาติและรับประทานขนมหวานจนเป็นนิสัย คุณแม่หรือผู้ที่เลี้ยงดู
ควรฝึกให้เด็กรับประทานขนมหวานในมื้ออาหาร ก็จะช่วยให้น้ำตาลในช่องปากมีความเจือจางและเกิดอันตรายแก่ฟันลดลง ร่วมกับการฝึกให้
เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นอาหารว่าง เช่น ผลไม้ นม

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เกร็ดเล็กน้อยในการดูแลสุขภาพเด็ก

เมื่อพาลูกไปหาหมอควรทำอย่างไร
1. อย่าแสดงความกังวลมากเกินไปเพราะจะทำให้ลูกตกใจตามไปด้วย
2. เล่าอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆรวมทั้งการรักษา และการใช้ยาที่ทำไปแล้ว
3. ตอบคำถามของหมอให้ตรงจุดไม่ปิดบัง
4. อุ้มลูกนั่งตัก หรืออยู่ใกล้ชิดเพื่อให้ลูกอุ่นใจ
5. ถ้าลูกต้องฉีดยา เจาะเลือด ไม่ควรหลอกลูกว่าไม่เจ็บ แต่ควรบอกลูกว่าเจ็บนิดเดียวเดี๋ยวก็หาย
6. ถ้าหมอนัดตรวจอีกครั้ง ควรมาตามนัดเพื่อรักษาให้หายขาด

สร้างลูกให้ฉลาดด้วยนมแม่
ระยะ 3 เดือนก่อนคลอด และ 6 เดือนหลังคลอด เป็นช่วงที่สำคัญเพราะเป็นช่วงที่เชลล์สมองกำลังแบ่งตัว และเจริญเติบโตมากที่สุด ดังนั้นการให้นมลกเองในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด จึงเป็นโอกาสทองที่แม่จะสร้างความเฉลียวฉลาดให้กับลูก
ในน้ำนมแม่นอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุ ไขมันและวิตามินที่ทารกต้องการแล้ว น้ำนมถั่วเหลืองยังเป็นเหมือนวัคซีนป้องกันการติดเชื้ออย่างดี และยังมีน้ำตาลนมเป็นจำนวนมาก ซึ่งน้ำตาลนมนี้เองเป็นตัวการสำคัญของการเจริญเติบโตของสมองน้อย ๆของลูกคุณนั่นเอง
 

คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- ควรให้ลูกดูดนมแม่ภายหลังคลอดให้เร็วที่สุดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากเพียงพอ
- ควรทำความสะอาดบริเวณหัวนมก่อนให้ลูกดูดทุกครั้ง โดยใช้สำลีชุบน้ำตมเช็ดก่อนให้ลูกดูดนม เมื่อให้นมเสร็จเช็ดด้วยสำลีอีกที
- ท่าที่ลูกจะดูดนมได้อย่างถูกต้อง คือ ให้หัวนมแม่อยู่ที่แก้มใกล้มุมปากลูก โดยธรรมชาติเด็กจะหันปากไปมาจนพบหัวนม และอ้าปากพร้อมที่จะดูดทันที ไม่ควรจับศรีษะลูกและพยายามดันหัวนมเข้าปากทันที เพราะลูกอาจจะปฏิเสธการดูดนมได้
- ควรให้ลูกอมหัวนมถึงบริเวณส่วนคลำรอบหัวนม (บริเวณลานหัวนม)ให้มากที่สุด ถ้าลูกอมตื้นเงือกเด็กจะกดลงตรงหัวนมแม่ ทำให้หัวนมแม่เจ็บมาก และอาจทำให้เกิดแผลบริเวณหัวนมได้
- ควรอุ้มลูกให้เรอทุกครั้งหลังการให้นม เพื่อระบายลมออกจากท้อง
 

เทคนิคการป้อนนมขวด
- ควรนั่งบนเก้าอี้ในท่าที่สบาย อุ้มลูกไว้ที่วงแขน
- ถือขวดนมให้เอียงได้ระดับ เพื่อลูกจะได้ไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปซึ่งทำให้อืด ปวดท้องได้
- อย่าให้ลูกดูดนมเองตามลำพัง โดยใช้ผ้าหนุนคอขวดไว้
- จับลูกเรอให้เป็นระยะ จนกว่าลูกจะกินนมอิ่ม
- ไม่ควรเก็บนมที่เหลือไว้ให้ลูกกินอีก
- ควรล้างขวดนมทันทีด้วยน้ำอุ่นหรือนำยาล้างขวดนม แล้วนำไปต้มในน้ำเดือนนาน 15 นาที จึงจะนำไปใช้ได้
 

ลูกอ้อน 3 เดือน
ลูกอ้อน 3 เดือน หรือร้อง 3 เดือน ก็คือการร้อง โคลิกของแพทย์สมัยใหม่นั้นเองค่ะ
อาการจะเริ่มเมื่อเด็กอายุราว 2 สัปดาห์ และมักหายไปเมื่ออายุ 3 เดือนอาการร้องอย่างรุนแรงนี้มักจะเริ่มตอนเย็น ๆ ลูกจะงอเข่าและเหยียดเกร็งคล้ายกับปวดท้องอย่างแรง แผดเสียงร้องอย่างไม่ลืมหูลืมตา แต่พอถึงเวลาหยุดคือประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก็จะเงียบสนิทเป็นปลิดทิ้งเลยที่เดียว
คุณแม่สามารถช่วยลูกได้โดย
- ตกเย็นสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีที่สุด
- เปิดเพลงเย็นๆ เบา ๆ
- อุ้มลูกไว้แนบอก พร้อมปลอบเบา ๆ
- ขณะปลอบอาจจะอุ้มลูกเดินไปเดินมา ที่สำคัญแม่ต้องใจเย็น อย่าหงุดหงิดหรือร้องไห้ตามลูก
 

ลิ้นเป็นฝ้า
ฝ้าขาวที่เกาะอยู่บนลิ้น กระพุ้งแก้มของลูก เกิดจากผิวชั้นนอกที่ลอกออก และมีน้ำลายผสมคราบนมและเศษอาหารมาเกะ บางครั้งก็มีเชื้อราทำให้เกิดเป็นปื้นขาว ๆ เกาะแน่นอยู่บนลิ้น ทำให้ลูกเจ็บและเบื่อนมได้ การล้างคราบนมที่ติดในช่องปากใช้สำลีชุบน้ำอุ่นหรือกลีเซอรีนบอแรกซ์เซ็ดทำความสะอาดวันละ 2-3 ครั้ง หากมีฝ้าเกาะติดที่ผนังด้านกระพุ้งแก้ม ซึ่งรักษาความสะอาดยาก ควรป้ายยาสีม่วงเจนเซียนไวโอเล็ต 1% วันละครั้ง ถ้าทำวิธีการต่าง ๆ แล้วไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์
 

ผื่นผ้าอ้อม
เกิดจากผ้าอ้อมที่ซักไม่สะอาดระคายเคืองผิวลูกหรือผ้าอ้อมเปียกชื้นเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค จนก่อให้เกิดผื่นผิวหนังลูก การปล่อยให้ลูกนอนจมฉี่หรือไม่ได้เปลี่ยนผ้าอ้อม ปล่อยให้อับชื้นอยู่นาน ๆ แอมโมเนียในปัสสาวะ จะทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้
การแก้ไขทำได้ง่าย ๆ โดยซักผ้าออมให้สะอาด ตากแดดให้แห้งสนิทหากเป็นวันที่อากาศอับชื้น ไม่มีแดดควรรีดฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาใช้เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกทำความสะอาดก้นลูก โดยใช้สำลีหรือผ้าชุบน้ำเช็ดให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้งสนิทก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ หากเป็นมากปล่อยให้ลูกล่อนจ้อนบ้าง ให้อากาศถ่ายเทสะดวก หากเป็นมากควรพาไปพบแพทย์
 

ผื่นในรอยพับ
ถ้าลูกอ้วนมาก เนื้อจะย่นเป็นชั้น ๆ จนเกิดเป็นรอยพับ เป็นที่หมักหมมความชื้น เกิดความเสียดสีทำให้เกิดความระคายเคือง และมักเป็นผื่นแดงได้ง่าย
วิธีแก้ไข
- ควรอาบน้ำให้สะอาด ดึงเนื้อย่น ๆ ของลูกแล้วล้างบริเวณรอยพับให้เกลี้ยง อย่าให้คราบแป้งเกาะอยู่ เพราะยิ่งทำให้หมักหมม เมื้อสะอาดดีแล้ว เช็ดตัวลูกให้แห้ง ปล่อยให้ผิวแห้งสนิทก่อนทาแป้งบาง ๆ อาจทาวาสลีนบาง ๆ บริเวณรอยย่นเพื่อป้องกันการเสียดสีและระคายเคียง
 

ลูกสะดือจุ่นทำอย่างไร
การที่เด็กมีสะดือโป่งออกมา โดยเฉพาะในเวลาร้องไห้หรือเบ่งอุจจาระจะโตมากขึ้นและตึง จนเป็นที่หวาดเสียวแก่คุณพ่อ คุณแม่ ว่าจะแตกออกมาเหมือนลูกโป่ง ทั้งนี้เพราะช่วงเวลานั้น เป็นช่วงความดันช่องท้องเพิ่มขึ้น สาเหตุเกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้อหน้าท้องบริเวณนั้น ส่วนอาการดังกล่าวจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น (มักจะหายภายใน 2 ปี) นอกจากในรายที่เป็นรูเปิดกว้างมาก ซึ่งอาจไม่ปิดเองก็อาจจะพิจารณาผ่าตัดได้ในภายหลัง การใช้แทบพลาสเตอร์ หรือใช้เหรียญบาทกดทับไว้ไม่เป็นการช่วยแต่อย่างใด แต่จะทำให้บริเวณนั้นชื้นแฉะ และอักเสบได้ง่าย
 

ลูกเมารถ
ไม่ว่าจะเดินทางโดยรถ เรือ หรือเครื่องบิน เด็กบางคนจะคลื่นไว้ อาเจียน ถ้าลูกมีอาการดังกล่าวระหว่างการเดินทางควรปฏิบัติดังนี้
- ก่อนเดินทางอย่าให้ลูกกินอาหารมาก
- นำเอาของเล่นหรือเกมส์ให้ลูกเล่นจนเพลิน
- อย่าให้ลูกตื่นเต้นมาก
- เปิดหน้าต่างรถอย่างน้อย 1 บาน เพื่อให้อากาศเข้ามา
- หยุดเดินทางเป็นระยะเพื่อให้ลูกยืดแขนยืดขา
- หากเป็นไปได้ควรเดินทางกลางคืน ลูกจะได้หลับ
- ขอยาป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนจากแพทย์
 

เมื่อลูกท้องผูก
1. ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพราะการดื่มน้ำน้อยจะทำให้ก้อนอุจจาระในลำไส้แห้ง แข็ง และถ่ายลำบาก
2. ให้ดื่มน้ำส้มคั้นหรือน้ำมะขามจาง ๆ ครั้งแรกอาจเริ่มให้ดื่มวันละ 1 ช้อนชา แล้วจึงเพิ่มเป็น 2 ช้อนชา จนดูว่าถ่ายอุจจาระเป็นปกติดีจึงค่อยงด
3. ในเด็กเล็ก ๆ ไม่ควรจับลูกสวนอุจจาระบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ทวารหนักอักเสบและที่สำคัญจะทำให้ลูกกลัวหวาดผวาได้ ควรพบแพทย์เพื่อช่วยเหลือด้วยการให้ยาระบายอ่อน ๆ เพื่อให้ร่างกายซินกับระบบขับถ่าย และควรเพิ่มอาหารเสริมประเภทมีกากมาก ๆ เช่น ผัก ผลไม้จะช่วยได้มากขึ้น

เป็นหวัดบ่อย
เด็กส่วนใหญ่จะเป็นไข้หวัดเฉลี่ยปีละ 6 ครั้ง มักมีอาการไข้อยู่ประมาณ 2-3 วัน ร่วมกับอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล บางครั้งอาจมีอาการไอหรือเจ็บคอเล็กน้อย
วิธีหลีกเลี่ยง ไม่ให้ลูกเป็นไข้คือ อย่าปล่อยให้ลูกตากฝน หรือแม้แต่โดนละอองฝน หลีกเลี่ยงจากคนที่เป็นไข้หวัด หากคุณพ่อ คุณแม่หรือคนในบ้านไม่สบายควรอยู่ห่าง ๆลูกสักพัก ก็จะเป็นการดี เพื่อช่วยให้สุขภาพของลูกน้อยที่คุณรักปลอดภัยจากการเจ็บไข้
การใช้ยาเมื่อลูกเป็นไข้หวัด
1. เด็กมีไข้ตัวร้อนถ้าอายุต่ำกว่า 1 ปี ห้ามใช้ยาแอสไพริน
2. เด็กมีน้ำมูกใส ถ้าอายุต่ำกว่า 1 ปี หามใช้ยาเอง ให้ใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออกมาก็พอ
3. เด็กมีอาการคัดจมูกไม่ควรใช้ยาเอง อาจจะให้ดื่มน้ำอุ่น หรือจะสูดดมไอน้ำก็ได้
4. ถ้าเด็กมีไอเสมหะ ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ถ้าไม่มีเสมหะให้ดื่มยาแก้ไอน้ำเชื่อมได้
5. อาการเจ็บคอมีน้ำมูกเขียว ๆเหลือง ๆ มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส แสดงว่ามีอาการแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียให้พบแพทย์
 

กำจัดเสมหะในเด็กลดปัญหาปอดบวม
การเคาะปอดร่วมกับการจัดท่าไล่เสมหะจากแขนงขั้วปอดออกมาภายนอกแล้วดูดออก ทำให้เด็กหายใจสะดวกขึ้น นอนหลับได้ในเด็กเล็ก ๆ มักมีปัญหาในการกำจัดเสมหะจากร่างกายด้วยตนเองด้วยการไอหรือบ้วนเสมหะออกจากปากรวมทั้งการสั่งน้ำมูกจึงต้องให้นักกายภาพบำบัดดูดเสมหะให้ก่อนก่อนการดูดเสมหะไม่ควรรับประทานอาหารอย่างน้อยครึ่งชัวโมง และหลังจากการดูดเสมหะแล้วผู้ปกครองควรอุ้มเด็กพาดบ่าสักครู่จนเด็กหายเหนื่อยแล้วค่อยให้อาหาร
 

ถ้าลูกชักจากไข้สูง
ชัก คือ อาการเกร็งและกระตุกของกล้ามเนื้อทั้งตัวหรือหรือบางส่วนบางคนจะกัดลิ้น หายใจขัด ถ้าปล่อยให้ชักนาน ๆสมองจะขาดอ๊อกชิเจนทำให้พิการปัญญาอ่อนหรือเสียชีวิตได้
ข้อควรปฏิบัติ
1. หาด้ามช้อน หรือปากกาพันด้วยผ้าบาง ๆ สอดเข้าไปในปากเพื่อกันไม่ให้เด็กกัดลิ้นตัวเอง
2. ถอดเสื้อผ้าออกให้หมด เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นให้ทั่วตัววางกระเป๋าน้ำแข็งประคบที่ศรีษะ ขาหนีบรักแร้ทั้งสองข้าง ควรเช็ดตัวจนกว่าเด็กจะตัวเย็นลง
3. หลังจากหยุดชัก ถ้าเด็กจนรู้สึกตัวดี ให้ป้อนยาลดไข้
4. รีบนำเด็กมาพบแพทย์โดยเร็ว และ ควรเช็ดตัวลดไข้ตลอดระยะเวลาการเดินทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กชักซ้ำ
 

ลูกกินยายาก
- เตรียมเครื่องดื่มที่ลูกชอบไว้ให้ดื่มตาม เพื่อกลบรสยา
- แนะนำให้ลูกปิดจมูกเพื่อไม่ให้รับกลิ่นแต่อย่าบังคับหรือบีบจมูกลูก
- ถ้าลูกโตพอควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าการกินยาทำให้หายป่วย
- หากลูกไม่ชอบรสชาดของยา ขณะกรอกยาให้กรอกยาไปที่โคนลิ้นจะช่วยให้ลูกรับรู้รสน้อยลง

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

อายุ

การให้ภูมิคุ้มกันโรค

แรกเกิด 1 เดือน

2 3  เดือน

4 5  เดือน


6 7  เดือน

9 12 เดือน
11/2 2 ปี

4 ปี


7 ปี ( แรกเข้าเรียน )



11 14 ปี  ( ก่อนออกจากโรงเรียนชั้นประถม )

15 ปีขึ้นไป
1 . ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค
2 . ฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ
1 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก  ครั้งที่ 1
2 . กินวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ครั้งที่ 1
1 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ครั้งที่ 2
2 . กินวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ครั้ง 2
1 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ครั้งที่ 3
2 . กินวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ครั้งที่ 3
1 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด
1 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก กระตุ้น ครั้งที่ 1
2 . กินวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ
1 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก กระตุน ครั้งที่ 2
2 . กินวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ
3 . ให้วัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์
4 . ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค
5 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก
6 . ให้วัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์
1 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก
2 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันในเด็กหญิง
3 . ให้วัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์
1 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักทุก 10 ปี
2 . ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์




หมายเหตุ
1 . วัคซีนทุกชนิดไม่สามารถให้ตามกำหนดได้  ก็เริ่มให้ทันทีที่  พบครั้งแรก
2 . วัคซีนที่ให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบ้างแล้ว และไม่มารับต่อไปตามกำหนดนัด  ให้ฉีดวัคซีนต่อไปนั้นได้ทันทีที่พบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่

คำแนะนำในการให้วัคซีน

1 . ท่านควรทราบว่าเด็กของท่านได้รับวัคซีนอะไรบ้างในแต่ละครั้ง  และทราบด้วยว่าอาจเกิดอาการจากวัคซีนนั้นอย่างไรบ้าง  ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลเด็กได้อย่างถูกต้อง
2 . การฉีด บี.ซี.จี วัคซีนป้องกันวัณโรค เด็กทุกคนจะได้รับเมื่อแรกเกิด ฉีดที่สะโพกขวาหลังฉีดจะไม่มีแผล ต่อมาประมาณ  3 4  อาทิตย์  จะเห็นเป็นตุ่มแดงบริเวณที่ฉีด  ถ้าตุ่มที่ขึ้นมาบวมแดง  อาจจะไม่มี่หนองก็ได้  ให้เช็ดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาดและแห้งเสมอด้วยแอลกอฮอล์ 70%   ทุกครั้งที่แผลเปียก ตุ่มนี้จะค่อยๆแห้งและจะมีรอยบุ๋มตรงกลางภายใน 3 6 อาทิตย์
3 . หลังการฉีดวัคซีนต่างๆ เด็กอาจตัวร้อนอยู่ประมาณ 1 2 วัน ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นและให้ยาลดไข้ตามที่แพทย์สั่ง
4 . ในวันนัด ถ้าเด็กมีไข้  ควรเลื่อนไปจนกว่าเด็กจะหายไข้
5 . ถ้าเด็กเคยมีอาการรุนแรงหลังฉีดวัคซีน  เช่น ชัก ไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดครั้งต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ดูแลเด็กอ่อน

เด็กแรกเกิดถึงหนึ่งสัปดาห์: ลักษณะของเด็ก: วันแรกของเด็กอ่อน

ถ้าลูกของคุณมีน้ำหนักมากกว่า 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป
ก็เรียกได้ว่าใช้ได้ เพราะเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม
จะถูกจัดอยู่ในประเภท
“เด็กไม่ครบกำหนด” (Premature)
และต้องดูแลเป็นพิเศษ
ลักษณะของเด็กที่สมบูรณ์แข็งแรง
คือ สีผิวสดใสและร้องเสียงดัง

คุณแม่บางคนอาจสงสัยว่า
ลูกของคุณจะถ่ายปัสสาวะครั้งแรกเมื่อไร
ปกติแล้วเด็กจะถ่ายภายใน 24 ชั่วโมง
แต่เด็กแข็งแรงดีบางคนอาจไม่ถ่ายภายใน 24 ชั่วโมงก็มี
คุณอาจตกใจเมื่อเห็นปัสสาวะของเด็กมีสีแดงอ่อนคล้ายสีอิฐ
เนื่องจากเป็นเกลือของกรดยูริก
ซึ่งก็ไม่เป็นปัญหาอะไร

สำหรับอุจจาระก็เช่นเดียวกัน
เด็กจะถ่ายอุจจาระครั้งแรกใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
อุจจาระจะมีสีเขียวคล้ำหรือสีเทาดำเหนียว ๆ เรียกว่า “ขี้เทา”

เด็กแรกเกิดจะร้องบ้างเป็นบางครั้ง
แต่ส่วนใหญ่จะนอนหลับ รูปหัวของเด็กมักจะเบี้ยวบูด
เพราะถูกบีบระหว่างผ่านช่องคลอด
โดยเฉพาะลูกคนแรกหรือลูกของหญิงมีอายุ
หัวมักจะปูดเห็นได้ชัด ลักษณะเช่นนี้จะหายไปเอง
โดยธรรมชาติ ถ้าคุณคลำหัวเด็กตอนบนด้านหน้า
อาจตกใจเมื่อพบส่วนที่ไม่มีกะโหลกและนิ่มบุ๋มลงไป
ซึ่งเราเรียกว่า “กระหม่อม”
ทั้งนี้เพื่อให้รูปหัวของเด็กเปลี่ยนแปลงได้
ในขณะที่ผ่านช่องคลอดของแม่

ใบหน้าของเด็กแรกเกิดจะดูบวม
โดยเฉพาะบริเวณเปลือกตา
คุณอาจเห็นเด็กมีขี้ตาติดอยู่
เนื่องจากพยาบาลได้หยอดยาฆ่าเชื้อโรคให้
สำหรับเด็กผู้หญิงคุณไม่ต้องกังวลเมื่อเห็นจมูกแบน
จมูกจะโด่งขึ้นเมื่อโต

คุณอาจเห็นสายสะดือมีสีคล้ำ ๆ น่าเกลียด
อวัยวะเพศของเด็กชายจะดูเหมือนว่าบวม
ของเด็กหญิงก็ดูผิดรูปผิดร่าง
ซึ่งก็จะดีขึ้นเองตามธรรมชาติ

เด็กจะนอนท่าเดียวกับตอนที่อยู่ในท้องแม่
ปกติเด็กซึ่งเอาหัวออกก่อน
จะนอนตัวงอเอาคางชิดหน้าอก มือกำ
งอแขนงอขาเข้าหาตัว

ที่ก้นอาจเห็นมีรอยสีเขียว ๆ
เรียกว่า “ปานเขียว” (Mongolian Sport)
ซึ่งจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น ตามคอ เปลือกตา จมูก
อาจมีไฝสีแดงขนาดเท่าเมล็ดข้าวหรือถั่วแดง
ซึ่งก็จะหายไปเองภายในหนึ่งปี

ถึงแม้อากาศจะร้อน
เหงื่อของเด็กแรกเกิดจะยังไม่ออก
น้ำลายก็ยังไม่ไหล เพราะท่อขับสิ่งเหล่านี้ยังไม่ทำงาน
ตายังมองไม่เห็น แต่จะได้ยินเสียงดัง ๆ
ถ้าลองปิดประตูดังปังจะสะดุ้ง
อุณหภูมิร่างกายของเด็กเมื่อแรกเกิดจะเท่ากับของแม่
หลังจากนั้นจะลดลงประมาณ 1-3 องศาเซลเซียส
และต่อมาอีก 8 ชั่วโมง อุณหภูมิจะขึ้นไปอีก
(ราวประมาณ 36.8 - 37.2 องศาเซลเซียส)
เด็กจะหายใจประมาณ 34-35 ครั้งต่อนาที
ชีพจรเต้น 120-130 ครั้งต่อนาที

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การดูแลเด็ก


การดูแลเด็ก

1. ให้การดูแลเด็กตามช่วงอายุดังนี้

1.1 แรกเกิดถึง 1 เดือน


  • การดูแลสะดือเด็ก เมื่อสะดือยังไม่หลุด ควรเช็ดสะดือให้แห้งหลังอาบน้ำทุกครั้งด้วยแอลกอฮอล์เช็ดแผล ห้ามใช้แป้งหรือผงใดๆโรยสะดือเป็นอันขาด ไม่จำเป็นต้องห่อสะดือเด็ก
  • การถ่ายอุจจาระเหลวหลายครั้งอาจเกิดขึ้นได้ในเด็กที่กินนมแม่ เพราะนมแม่มีฤทธิ์ช่วยระบายอยู่แล้ว โดยเฉพาะเด็กที่ดูดนมเก่ง แต่ถ้าถ่ายบ่อยและไม่ค่อยดูดนม ต้องรีบปรึกษาแพทย์
  • เด็กตัวเหลืองควรพาไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  • ห้ามกวาดยาเด็กโดยเด็ดขาด เพราะเป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ช่องคอ เด็กอาจติดเชื้อและมีการอักเสบตามมาได้





1.2 เด็กอายุ 1 เดือน - 5 ปี
  • ห้ามกวาดยาเด็กโดยเด็ดขาด เพราะเป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ช่องคอ เด็กอาจติดเชื้อและมีการอักเสบตามมาได้
  • ไปตรวจสุขภาพเมื่ออายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 9 เดือน, 12 เดือน, ขวบครึ่ง, สองขวบ หลังจากนั้นนำเด็กไปตรวจสุขภาพทุกปีจนเด็กอายุ 5 ปี
  • โปรดระวังอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กของท่าน เช่น น้ำร้อนลวก ไฟใหม้ ไฟฟ้าดูด จมน้ำ กินสารพิษ อุบัติเหตุบนท้องถนน และอื่นๆ

2. หากเด็กมีอาการต่อไปนี้ รีบนำเด็กไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

  • ซึม ซีด ไข้สูง ชัก ท้องอืด อาเจียน หายใจเร็ว หอบ หายใจลำบาก

3. การดูแลเด็กเป็นไข้หวัด

เด็ก 1-5 ปีจะเป็นหวัดบ่อย ปีละ 6-8 ครั้ง พ่อ-แม่ให้การดูแลเองที่บ้านได้ โดยให้กินน้ำบ่อยๆ รับประทานอาหารได้ตามปกติ ถ้าตัวร้อนจัด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว ให้กินยาลดไข้ พาราเซตตามอลห่างกันทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้าไอมากให้ยาแก้ไอขับเสมหะสำหรับเด็ก ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ) โรคหวัดจะมีอาการไข้ น้ำมูก ไอ ใน 2-3 วันแรก ต่อไปมีไอราว 1-3 สัปดาห์ ก็จะหาย
พ่อ-แม่ต้องคอยสังเกตุอาการ ถ้าไอมาก หายใจผิดปกติเช่น หายใจเร็ว หรือหอบ หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม หรือหายใจมีเสียงดัง หรืออาการซึม ไม่ดูดนม อาจเป็นโรคปอดบวม จะต้องรีบพาไปพบแพทย์

4. โรคอุจจาระร่วง

เกิดขึ้นได้บ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรคปนเปื้อน อาการที่เรียกว่าโรคอุจจาระร่วงนั้นหมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นน้ำหรือมูกปนเลือด แม้เพียงวันละ 1 ครั้ง เด็กเล็กที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงนี้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับอุจจาระจำนวนมาก จนอาจทำให้ช๊อคหมดสติและถึงแก่ความตาย

การดูแลรักษาขั้นต้นเมื่อเด็กป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงที่บ้าน

  1. ให้สารน้ำหรือ อาหารเหลวเพิ่มขึ้น ได้แก่
    - สารละลายน้ำตาลเกลือแร่หรือ โออาร์เอส ทุกครั้งที่ถ่ายเหลว
    : เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ดื่ม 50-100 ซี.ซี. (1/4 - ครึ่งแก้ว)
    : เด็กอายุ 2-10 ปี ดื่ม 100-200 ซี.ซี. (ครึ่งแก้ว - หนึ่งแก้ว )
    - อาหารเหลวที่ทำได้เองในบ้าน เช่น น้ำข้าว (ใส่เกลือ 2 หยิบมือ) น้ำแกงจืด โจ๊ก น้ำผลไม้ หรืออาจเตรียมน้ำสารละลายเกลือและน้ำตาล โดยผสมเกลือครึ่งช้อนชา น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะในน้ำต้มสุก 750 ซี.ซี. (ในขวดน้ำปลากลม)
  2. ไม่ต้องงดน้ำและอาหารในระหว่างท้องร่วง
    - ในเด็กที่ยังกินนมแม่ให้กินนมแม่ต่อไปไม่ต้องหยุด ในรายที่กินนมผสมให้กินน้อยลงกว่าเดิมครึ่งหนึ่งสลับกับสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
  3. ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หากมีอาการดังนี้
    - กระหายน้ำ อ่อนเพลียมาก ตาลึกโหล
    - มีไข้หรือถ่ายเป็นมูกเลือด
    - กินอาหารหรือดืมน้ำไม่ได้
    - อาเจียนบ่อย
    - ยังคงถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก
สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก กรมอนามัย

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม