วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีบำบัดเด็กสมาธิสั้น

วิธีบำบัดเด็กสมาธิสั้น


วิธีบำบัดเด็กสมาธิสั้น (เดลินิวส์)


          เด็กคนไหนที่รู้ตัวว่าเป็นคนสมาธิสั้น วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีวิธีบำบัดมาบอก…

          1. อย่าเปิดทีวี ให้มีเสียงดังจนเกินไป หรือสภาพแวดล้อมในบ้านต้องไม่วุ่นวายหรือมีการทะเลาะกันบ่อยครั้ง

          2. หามุมสงบสำหรับเด็ก เพื่อให้เกิดสมาธิในการทำการบ้าน

          3. ฝึกฝนวินัยให้เด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยละเลยหรือตามใจจนทำให้เด็กติดเกม

          4. มีการสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน หากไม่แน่ใจให้เด็กทบทวนว่าสิ่งที่สั่งสอนไปคืออะไรบ้าง

          5. มีความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นอย่างจริงจังและจริงใจ

          6. จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เกิดความมีระเบียบ  ไม่ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง

          7. อย่าทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย

          8. ไม่ควรจับกลุ่มให้เด็กสมาธิสั้นอยู่ใกล้ชิดกับเด็กที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพราะจะทำให้กลายเป็นเด็กที่เกเรก้าวร้าวได้

          9. ส่งเสริมจุดแข็งข้อดีในตัวเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกดี และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง

          10. จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้ได้ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์ และใช้พลังงานส่วนเกินอย่างเหมาะสม รวมถึงเป็นการฝึกสมาธิไปในตัว เช่น ออกกำลังกาย หรือเล่นดนตรี ตามที่เด็กสนใจ

          รู้อย่างนี้แล้ว เด็กที่สมาธิสั้นก็ลองนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้

50 วิธีเอาชนะโรคเด็กสมาธิสั้น

add ย่อมาจากคำว่า attention deficit disorder หมายถึงโรคสมาธิสั้น
ครูอาจารย์รู้หลายอย่างที่แพทย์ไม่รู้ นั่นก็คือ อาการของ ADD ปรากฏ ได้หลายแบบมาก ซ้ำยังเกิด ร่วมกับ ความผิดปกติอื่นๆ อีก เช่น learning disabilities หรือปัญหา ทางอารมณ์ ราวกับว่า ปัญหาของ ADD เปลี่ยนตาม สภาพอากาศ ไม่แน่นอน คาดการณ์ไม่ได้ แม้วิธีการรักษา ADD จะมี ปรากฏ ในหนังสือ มากมาย แต่ก็ยังคง เป็นงานยาก และหนัก กับผู้ปฏิบัติเสมอ
ไม่มีทางออกง่ายๆ สำหรับ การแก้ปัญหา ของ ADD ในห้องเรียน หรือที่บ้าน ความสำเร็จ ของการรักษา ในโรงเรียน ขึ้นอยู่กับ ความรู้ และความหนักแน่น สม่ำเสมอ ของครู และโรงเรียน เป็นอย่างมาก
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดบางประการในการช่วยเด็ก ADD ในโรงเรียน โดยมุ่งให้ครูอาจารย์ช่วยเด็กได้ ในทุกวัย แต่ครูอาจเห็นว่า บางข้อเหมาะสำหรับเด็กบางวัยมากกว่า อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่อง การมีกรอบ, การให้ความรู้ และการชักจูงสนับสนุน ยังคงเป็น แนวคิดหลักเสมอ
1) ข้อแรกคือ ท่านต้องมั่นใจว่าท่านกำลังช่วยเด็ก ADD มิใช่เป็นปัญหาของการได้ยิน การมองเห็น
2) หาผู้สนับสนุนท่านคือโรงเรียนและผู้ปกครอง การมีเด็ก ADD อยู่ในชั้น 2-3 คนก็เป็นเรื่องเหนื่อย มากอยู่แล้ว หาผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาได้ เช่น นักการศึกษาพิเศษ จิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาประจำ โรงเรียน หรือกุมารแพทย์ หาความร่วมมือจากผู้ปกครอง และหาเพื่อนครูมาช่วย
3) จงรู้จักข้อจำกัดของตนเอง อย่ากลัวที่จะขอความร่วมมือ ครูคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ADD
4) ถามเด็กว่าจะให้ช่วยอย่างไร เด็กเหล่านี้มักบอกได้ว่า อยากให้ท่านช่วยอย่างไรเมื่อถูกถาม อย่า อายที่จะถามเด็ก พยายามหาเวลาคุยกับเด็กตามลำพังและถามเขา คนที่ตอบได้ดีที่สุดเสมอคือตัว เด็กเอง ซึ่งเรามักละเลยมองข้ามไม่ถามจากเขา ในเด็กโตควรช่วยให้เด็กเข้าใจด้วยว่า ADD คือ อะไร ซึ่งจะช่วยท่านได้มาก
5) ระลึกเสมอว่า การมีกรอบจะช่วยเด็ก ADD กรอบคือสิ่งรอบตัวที่ช่วยควบคุมตัวเขา เพราะเขาคุม ตน เองไม่ได้ การมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำช่วยเด็ก ADD ที่หลงออกไปกลับเข้ากรอบได้ พวกเขาต้องการสิ่งเตือน ต้องการการแนะ ต้องการการย้ำ ต้องการคำสั่ง ต้องการคนให้ ขีดจำกัด และต้องการกรอบที่ชัดเจนแน่นอน
6) อย่าลืมการเรียนกับความรู้สึก เด็กเหล่านี้ต้องการห้องเรียนที่สนุก รู้สึกว่าเขาทำได้ ไม่ใช่ล้มเหลว ต้องการความตื่นเต้นมากกว่าความเบื่อหรือความกลัว ควรให้ความสนใจกับเรื่องความรู้สึกคู่ไป กับการเรียนเสมอ
7) ให้เด็กเขียนกฎ ข้อตกลง แล้วติดในที่ที่มองเห็นได้ เป็นการแสดงให้เขารู้ว่า เขาควรทำอะไรบ้าง
8) ย้ำคำสั่ง เขียน พูดคำสั่งหลายๆครั้ง คนที่เป็น ADD ต้องการให้คนพูดย้ำหลายๆครั้ง
9) พยายามสบตาเด็กบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นวิธีดึงเด็กกลับมาจากความคิดวอกแวก ทั้งเป็นการให้ขั้นตอน เด็กว่าถามได้ หรือแสดงว่าท่านสนใจเขาอยู่
10) ให้เด็กนั่งใกล้โต๊ะ หรือที่ที่ท่านยืนอยู่มากที่สุด
11) ให้ขอบเขตและข้อจำกัด โดยวิธีละมุนละม่อม ไม่ใช่ลงโทษ ทำอย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้ง ทันท่วงที และง่ายๆ ไม่ต้องเข้าไปถกเถียงกับเด็กมากมายเหมือนทนายทำในศาล การพูดยิ่งยาวยิ่งไม่ได้ผล
12) ทำตารางเวลาให้สม่ำเสมอที่สุดที่ทำได้ ติดตารางบนโต๊ะเด็กหรือกระดาน ชี้ให้เด็กเห็นบ่อยๆ ถ้า ท่านจะเปลี่ยนตาราง ควรเตือนให้เด็กทราบก่อนหลายครั้ง การเปลี่ยนโดยไม่บอกล่วงหน้าทำให้ เด็กปฏิบัติตัวยากจนเหมือนไม่ร่วมมือ
13) พยายามให้เด็กจัดตารางเวลา หลังเลิกเรียนของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นมากของเด็ก ADD คือการผัดผ่อน
14) พยายามลดการทดสอบย่อยๆกับเด็กเหล่านี้ เพราะไม่สามารถวัดความรู้จากเด็ก ADD ด้วยวิธีนี้ ได้
15) ปล่อยให้เด็กมีอิสระบ้าง เช่นให้ออกนอกห้องเป็นครั้งคราว ดีกว่าจำกัดไว้ แล้วเด็กหนีหายไปเลย เขียนไว้เป็นกฎ แล้วให้เด็กหัดควบคุมตนเอง
16) ให้การบ้านที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ เด็ก ADD อาจทำไม่ได้มากเท่าคนอื่น ควรสอนวิธีคิดให้ เด็กในระยะเวลาเรียนเท่าเดิม แต่ไม่ให้งานมากจนเด็กทำไม่ได้
17) ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด และช่วยเตือนให้เด็กอยู่กับร่องกับรอย เขาจะรู้ว่าเขาควรทำอะไร และหากทำตามเป้าหมายได้ จะเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจเด็กอย่างมาก
18) ย่อยงานใหญ่ๆให้เป็นงานย่อยๆ ถือเป็นหัวใจหลักในการที่ครูจะสอนลูกศิษย์ ADD ได้ เด็ก ADD เมื่อเผชิญกับงานใหญ่มากๆ จะท้อก่อนทำว่า ฉันไม่มีทางทำได้แต่หากย่อยงานใหญ่มากๆ จะ เป็นงานย่อยๆที่เขารู้สึกทำได้ จะช่วยให้เขามั่นใจขึ้น โดยทั่วไปเด็กมีความสามารถที่จะทำงานได้ มากกว่าที่เขาคิดเองอยู่แล้ว แต่การย่อยงานให้เขาทำ จะช่วยพิสูจน์สิ่งนี้แก่เขา ในเด็กเล็กวิธีช่วย ให้เด็กหงุดหงิดอาละวาดลดลงได้มาก แต่ในเด็กโต ความรู้สึกเป็นคนแพ้จะลดลง ท่านควรทำเช่นนี้เป็นประจำ
19) ทำตัวในรื่นเริง ง่ายๆมีอารมณ์ขัน หาสิ่งแปลกใหม่เรื่อยๆเพื่อทำให้เด็กกระตือรือร้น และคง ความสนใจ เด็กเหล่านี้มีชีวิตชีวา ชอบเล่น เกลียดสิ่งน่าเบื่อ รวมทั้งกฎเกณฑ์ ตาราง รายการ และครูที่น่าเบื่อ ควรแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อ จงลองทำตัว สนุกๆเป็นครั้งคราว จะช่วยได้มาก
20) ป้องกันการเกิดสิ่งเร้าที่มากเกินไป เด็ก ADD เหมือนหม้อตั้งไฟมีโอกาสเดือดล้นได้ตลอดเวลา หากเห็นห้องไม่มีระเบียบ จัดการเสียตั้งแต่ต้น อย่ารอให้เป็นจลาจล
21) หาสิ่งสำเร็จเล็กๆน้อยๆ ในตัวเขาเสมอ เด็กเหล่านี้เคยพบแต่ความล้มเหลว และเขาต้องการคน ให้กำลังใจ แต่อย่าทำจนเกินไป เด็กต้องการและได้ประโยชน์จากคำชม การให้กำลังใจ เหมือน ให้น้ำกับคนกระหาย หากมีน้ำก็รอดและเติบโต หากขาดน้ำมีแต่จะแย่ลง บ่อยครั้งที่ความเสียหายจาก ADD เองไม่รุนแรงเท่าความเสียหายจากความไม่มีความมั่นใจในตนเอง ให้น้ำแต่พอดีแล้วเด็กจะสำเร็จ
22) เด็กเหล่านี้มักมีปัญหาความจำ ช่วยเด็กโดยแนะเคล็ดการช่วยจำ เช่น การย่อ ทำรหัส ผูกเป็น โคลง ทำสัญลักษณ์ หาเสียงคล้ายกัน จะช่วยเด็กได้มาก
23) สอนเด็กในการจำหัวข้อ ขีดเส้นใต้ ซึ่งเด็ก ADD มักไม่ทำ ถือเป็นการช่วยเตือนสติเด็กให้เรียนได้ ขณะกำลังเรียน อยู่จริง ซึ่งสำคัญที่สุกกว่าการให้ไปเรียนพิเศษเพิ่มทีหลัง
24) บอกเด็กก่อนว่าจะพูดถึงเรื่องอะไรต่อไป บอกหัวข้อ แล้วค่อยตามด้วยเนื้อเรื่อง เด็ก ADD มัก เรียนจากการมองเห็นได้มากกว่าการฟัง ท่านอาจพูดไปเขียนไป เหมือนช่วยเติมกาวให้ความจำ
25) ใช้คำสั่งง่ายๆ ให้ทางเลือกง่ายๆ ให้ตารางง่ายๆ ยิ่งง่ายยิ่งเข้าใจได้ดี ใช้ภาษาให้น่าสนใจ เหมือน มีสีสัน จะช่วยดึงความสนใจ
26) เตือนให้เด็กรู้จักสังเกตตนเอง ซึ่งเด็กเหล่านี้มักไม่สามารถติดตามได้ว่าตนเองกำลังคิดหรือทำ อะไร การเตือนควรใช้คำถามที่สร้างสรร เช่น เมื่อกี้ หนูเพิ่งทำอะไร” “ถ้าให้ลองพูดอีกครั้งหนู จะพูดใหม่ว่าอะไร” “ทำไมหนูถึงว่าเด็กคนนั้นหน้าเสียตอนหนูพูดอย่างนั้นคำถามเหล่านี้จะ ช่วยให้เขาสังเกตตนเองเป็น
27) ทำสิ่งที่คาดหวังจากเด็กให้ชัดเจน
28) การให้สะสมคะแนนเอารางวัล เป็นส่วนช่วยในการควบคุมพฤติกรรม เด็ก ADD ตอบสนองดีกับ การให้การจูงใจและรางวัล เขาชอบการท้าทาย
29) ถ้าเด็กเข้าใจภาษากาย เช่น ท่าทาง, น้ำเสียง, หรือกาลเทศะ ได้จาก ควรช่วยเด็กให้เข้าสังคม ได้ง่ายขึ้น เช่น สอน ก่อนที่หนูจะเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง ถามว่าเขาอยากเล่าอะไรก่อน” “มอง หน้าคนอื่นด้วยในเวลาพูดเด็ก ADD มักถูกมองว่า หยิ่ง เห็นแก่ตัว ซึ่งที่จริงเขาไม่รู้วิธีเข้า สังคม ทักษะพวกนี้แม้ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ก็สอนได้
30) สอนวิธีการทำข้อสอบให้เด็ก
31) ทำการเรียนให้เหมือนเล่นเกมส์ การสร้างแรงจูงใจช่วย ADD ได้มาก
32) แยกเด็ก ADD ออกจากกัน ไม่ให้เป็นคู่หรือกลุ่ม เพราะมักทำให้เด็กแย่ลง
33) ให้ความสนใจกับการมีส่วนร่วม เด็กเหล่านี้อยากเข้าร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ ตราบใดที่เด็กอยู่ใน ภาวะที่มีส่วนร่วม เด็กจะอยากทำและไม่วอกแวก
34) มอบความรับผิดชอบให้เด็กทำเองเสมอเมื่อเป็นไปได้
35) ลองทำบันทึกจากบ้าน โรงเรียน บ้าน ทุกวัน เพื่อช่วยให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจกัน และช่วยให้เด็กได้รับสิ่งที่ต้องการ
36) ลองทำรายงานประจำวัน
37) ช่วยเด็กให้ทำรายงาน และให้เด็กสังเกตตนเอง แล้วพบอาจารย์หลังเลิกเรียนทุกวัน
38) จัดเวลาพักสบายให้เด็กไว้ โดยให้เด็กทราบล่วงหน้าเพื่อเด็กจะได้เตรียมใจ การให้เวลาพักโดย เด็กไม่ได้คาด จะทำให้เด็กตื่นเต้นและถูกกระตุ้นมากเกินไป
39) พึงชมเชย ให้กำลังใจ ยอมรับ ทำให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าเสมอ
40) สำหรับเด็กโต ให้เด็กจดคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างฟังไว้ นอกเหนือจากจดสิ่งที่ครูพูดให้ฟัง จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น
41)
ลายมือเด็กเหล่านี้ อาจไม่ดีนัก ให้เด็กหัดใช้แป้นพิมพ์ หรือตอบคำถามปากเปล่าบ้าง 42) ทำตัวเหมือนผู้ควบคุมวงดนตรี ทำให้ลูกวงสนใจก่อนเริ่มเล่น โดยอาจทำตัวเงียบ เคาะโต๊ะ แบ่ง เวลาให้แต่ละคนในห้อง โดยอาจชี้ให้เด็กช่วยตอบ
43) จัด คู่หูเพื่อนช่วยเรียน และให้เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อไว้
44) ช่วยอธิบาย ทำให้การรักษาดูเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อลดความอายของเด็ก
45) พบผู้ปกครองบ่อยๆ ไม่ใช่พบแต่เมื่อเกิดปัญหา
46) ให้อ่านออกเสียงที่บ้าน และในห้องเรียนเท่าที่เป็นไปได้ อาจให้อ่านนิทาน จะช่วยให้เด็กมี ทักษะในการคงความสนใจอยู่กับเรื่องๆเดียวได้
47) พูดย้ำ ย้ำ และย้ำ
48) การออกกำลังกาย ช่วย ADD ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ การออกกำลังกายหนักๆ เพราะช่วย ทำลายพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิ และเป็นการกระตุ้นสารต่างๆในร่างกายซึ่งเป็น ประโยชน์และสนุก และเขาจะทำตลอดไป
49) สำหรับเด็กโต ช่วยเด็กเตรียมตัวเรียนสำหรับวันรุ่งขึ้น โดยคุยกับเด็กว่าเขาจะเตรียมตัวอย่างไร
50) มองหาส่วนดีที่ปรากฏขึ้นในเด็กเสมอ เด็กเหล่านี้มักฉลาดกว่าที่เราเห็น มีความสร้างสรรค์ ขี้เล่น และเป็นกันเอง เขาพยายามจะ กลับมาสู้เสมอ เขาต้องการกำลังใจและดีใจที่มีคนช่วย จำไว้ ว่าต้องมีทำนองก่อนจะเขียนโน้ตประสานเสียงเสมอ

เด็กสมาธิสั้น รักษาได้

โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้คิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน กระทั่ง อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ก็ล้วนมีประวัติว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งสิ้น

สมาธิ
คือ กระบวนการที่คนเรามีจุดสนใจ จดจ่อ และเอาใจใส่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเลือกที่จะสนใจเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือเป็นระยะเวลานานๆ ก็ได้ตามความต้องการของคนๆ นั้น รวมถึงความสามารถที่จะเบนความสนใจจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่งได้เมื่อเราต้องการ

เด็ก


ความสนใจเกี่ยวข้องกับสมาธิอย่างไร?
ความสนใจ เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสมาธิ การก่อให้เกิดสมาธินั้นต้องอาศัยความสนใจเป็นหลัก รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆ ความสนใจจึงเป็นการรวบรวมความคิดให้จดจ่อในจุดนั้นๆ ซึ่งการรวบรวมความคิดให้ยาวนานและต่อเนื่องจึงสามารถทำให้เกิดเป็นสมาธิขึ้นมาได้


สมาธิมีผลอย่างไรต่อเด็กในวัยเรียน
สมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในคนทุกวัย ไม่เพียงแต่ในเด็กเท่านั้น แต่เด็กซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเรียนรู้นั้นหากมีสมาธิดีจะได้เปรียบกว่า ทั้งในด้านการฟัง การคิด การรับรู้ และมีความสามารถในการจดจำได้มากกว่าเด็กที่มีสมาธิสั้น เพราะเด็กที่มีสมาธิสั้นนั้นยากที่จะบังคับจิตใจให้จดจ่อหรือสนใจอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นงานที่ต้องทำอยู่เป็นระยะเวลานาน จะวอกแวกได้ง่ายได้ ซึ่งนอกจากสมาธิสั้นจะมีผลต่อการเรียนรู้แล้ว ยังมีผลเสียอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอีกหลายอย่างต่อตัวเด็ก และต่อครอบครัวตามมาด้วย


สมาธิสั้นคืออะไร
คุณคงเคยได้ยินคุณพ่อ คุณแม่ หรือคุณครูบ่นเด็กๆ ที่อยู่ไม่นิ่งว่า “ดื้อ” “อยู่ไม่สุข” “ทำไมไม่อยู่นิ่งๆ บ้าง” “ไม่ฟังครูเลย” “ใจลอย” “ขี้ลืม” “ขี้เกียจจัง” “อย่าพูดแทรก” “ซนหกล้มอยู่เรื่อย” “ซุ่มซ่าม” แน่นอนค่ะว่าเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นจะส่งผลกระทบต่อครอบครัวและตัวเด็กเองเป็นอย่างมาก เพราะเด็กจะไม่รู้จักระวังอันตรายและคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง ซึ่งจะทำให้พ่อแม่รู้สึกเครียดเพราะกังวลเป็นห่วงลูกตลอดเวลา เมื่อเป็นห่วงมากก็แสดงออกด้วยการตักเตือนหรือบ่นมากเป็นธรรมดา ส่งผลให้เด็กรู้สึกว่ามีปมด้อย เพราะถูกตำหนิอยู่เสมอ บางคนอาจถูกทำโทษจากพ่อแม่ หรือครู บางคนทะเลาะกับเพื่อน เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เรียนหนังสือไม่ทัน ผลการเรียนแย่ลงอาจสอบไม่ผ่าน จึงมักจะคิดว่าตัวเองเป็นคนโง่ เรียนรู้อะไรยาก ไม่มีใครอยากคบด้วย เด็กจะยิ่งเครียด แล้วอาจแยกตัวออกไปอยู่คนเดียว เพราะรู้สึกว่าไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าได้

โดยทั่วไปแล้วในเด็กวัยเรียนจะพบเด็กสมาธิสั้นได้ร้อยละ 3-5 ซึ่งพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงถึงร้อยละ 4 สำหรับในประเทศไทยพบว่ามีเด็กสมาธิสั้นร้อยละ 5 โดยเฉลี่ยแล้วในห้องเรียนห้องหนึ่งจะพบเด็กสมาธิสั้นประมาณ 2- 3 คน !

ส่วนผู้ใหญ่ที่มีอาการสมาธิสั้นนั้นก็มีเหมือนกัน สังเกตได้ว่าจะเป็นคนที่มีความสนใจอะไรน้อยเกินไป ซึ่งอาจขาดความสนใจบางส่วนหรือทั้งหมดทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องทำเป็นประจำ เขาจะรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่สามารถอดทนที่จะรอคอย หรือทำงานที่ต้องใช้ระยะเวลานานๆ ได้


แล้วอะไรคือสาเหตุของสมาธิสั้น?
โรคสมาธิสั้นนั้นเกิดจากการทำงานที่ไม่ปกติของระบบประสาทชีววิทยาภายในร่างกาย อันได้แก่ สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe of Cerebral Hemisphere) ทำงานน้อยกว่าปกติ ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นสมองส่วนที่ควบคุมความคิด การเกิดสมาธิ การจัดระเบียบและการทำกิจกรรมแบบมีจุดมุ่งหมาย ส่วนความผิดปกติอีกประการหนึ่งก็คือ การเกิดปัญหาของการหลั่งสารเคมีในสมองที่เรียกว่า Dopamine และ Norepinephrine ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยกระตุ้นทำให้มีการเคลื่อนไหว ไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ เนื่องจากการขาดหรือมีสารเคมีดังกล่าวในปริมาณที่ไม่สมดุล และจะส่งผลให้แสดงพฤติกรรมผิดปกติจนไม่สามารถหยุดการกระทำได้ นอกจากนี้ การเป็นโรคภูมิแพ้ การที่สมองของเด็กได้รับความกระทบกระเทือนระหว่างการคลอด หรือได้รับการติดเชื้อหลังคลอด และการที่เด็กได้รับสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่างๆ เช่น สารตะกั่วล้วนอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นได้

พ่อแม่บางคนที่มีลูกสมาธิสั้น มักจะโทษตัวเองว่าเป็นเพราะตนเองเลี้ยงลูกไม่ดี ....ซึ่งขออธิบายค่ะว่า การเลี้ยงดูของพ่อแม่ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดโรคสมาธิสั้น แต่การเลี้ยงดูและการดูแลที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง สามารถส่งผลให้เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นอยู่แล้วมีอาการมากขึ้น ซึ่งในทางตรงกันข้าม การดูแลที่ดีกลับจะช่วยให้เด็กสามาธิสั้นมีอาการดีขึ้นได้


รู้ได้อย่าง...ว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น
การที่จะสรุปว่าเด็กคนใดเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่นั้น ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ กุมารแพทย์ และจิตแพทย์ เป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งในประเทศไทยจะใช้คู่มือของ DSMIV 1994 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder) ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (Psycho American Association) ซึ่งลักษณะเฉพาะของสมาธิสั้น มีอยู่ 3 อย่างคือ

• อาการขาดสมาธิ (Inattention) จำแนกได้ 9 อาการ
• ซุกซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) จำแนกได้ 6 อาการ
• อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness) จำแนกได้ 3 อาการ
• อาการดังกล่าวต้องแสดงออกก่อนอายุ 7 ปี


อาการขาดสมาธิ (Inattention) ประกอบด้วย
1. มีความเลินเล่อในการทำกิจกรรมหรือการทำงานอื่นๆ และมักจะละเลยในรายละเอียด
2. ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
3. ดูเหมือนไม่เชื่อฟังและไม่สนใจเมื่อมีคนพูดด้วย
4. ทำกิจกรรมไม่เสร็จ ทำตามคำสั่งไม่จบ
5. มีความลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรมที่ทำ
6. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้สมาธิ
7. ทำของหายบ่อยๆ
8. วอกแวกง่าย
9. ขี้ลืมเป็นประจำ


เด็ก, สมาธิสั้นDonald Getz, O.D. เล่าว่า คุณแม่ของเด็กชายชาวอเมริกันชื่อเอ็ดดี้ อายุ 7 ปี บอกว่าบางทีเอ็ดดี้เขียนหนังสือได้ 1-2 ตัว ก็จะลุกขึ้นวิ่งเล่นหรือเลิกทำไปเสียเฉยๆ บางทีเขียนหนังสือหรือระบายสีได้นิดเดียวก็เปลี่ยนที่ เพราะเขาขาดสมาธิ แล้วอาจมีปัญหาทางสายตาด้วยการเขียนหนังสือกลับทาง เช่น การเขียนหนังสือจะเขียนกลับจาก “was” เป็น “saw”, “on” เป็น “no” หรือเขียนตัวเลขกลับ จาก “6” เป็น “9” หรือ “12” เป็น “21”เป็นต้น

อาการซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) ประกอบด้วย
1. นั่งไม่นิ่งขยับไปมา บิดตัวไปมา
2. ลุกจากที่นั่งในห้องเรียนหรือในที่อื่นที่ต้องนั่ง
3. วิ่งปีนป่านในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม ( มีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย)
4. ไม่สมารถเล่นเงียบๆ คนเดียวได้
5. เคลื่อนไหวตลอดเวลา
6. พูดมากเกินไป


อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness) ประกอบด้วย
1. ไม่อดทนรอคอย
2. พูดโพล่งออกมาในขณะที่ยังถามไม่จบ
3. พูดแทรกขัดจังหวะการสนทนาหรือการเล่น

ซึ่งอาการเหล่านี้ต้องปรากฏขึ้น อย่างน้อยใน 2 สถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ในห้องเรียน สนามเด็กเล่น หรือในที่ชุมชน ที่สำคัญข้อมูลเหล่านี้นำเสนอเพื่อให้คุณผู้อ่านใช้สังเกตลูกหลานเท่านั้น อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยว่าเด็กเป็นสมาธิสั้นหรือไม่ยังต้องเป็นหน้าที่ของแพทย์ค่ะ


เราจะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นได้อย่างไร
• หากสังเกตว่าเด็กเข้าข่ายมีอาการสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์ หรือจิตแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย นอกจากนี้แพทย์ยังจะให้ตรวจโรคทางจิตอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การตรวจสติปัญญาของเด็ก ซึ่งในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจจะมีการสัมภาษณ์คุณพ่อ-แม่ และครู หากเด็กถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น แพทย์จะให้การรักษาต่อไป

• การใช้พฤติกรรมบำบัดโดยนักจิตวิทยา ในกรณีที่เด็กมีอาการก้าวร้าวรุนแรง

• การทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางสังคมในการอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ

• ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กรับประทานอาหารที่ใส่สี ใส่สารกันบูด สารแต่งกลิ่นรส หรือน้ำตาลมากเกินไป รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เด็กมีอาการสมาธิสั้นมากขึ้น

• การเลี้ยงดูเด็กโดยไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจน เช่น การที่พ่อแม่เร่งรีบในการทำกิจวัตรประจำวัน การให้เด็กเล่นเกมส์มากๆ หรือการปล่อยให้ดูโทรทัศน์ตลอดเวลา จะมีผลทำให้เด็กที่สมาธิสั้นอยู่แล้วมีอาการมากขึ้น และอาจทำให้เด็กปกติเกิดอาการที่เรียกว่า “สมาธิสั้นเทียม”ได้ หมายถึงว่าจากเด็กที่ไม่ค่อยอยู่นิ่งอยู่แล้วจะกลายเป็นไม่อยู่นิ่งมากขึ้น และไม่รู้จักควบคุมตนเอง ดังนั้นการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย การตั้งกฎระเบียบภายในบ้าน และการสอนให้รู้จักการทำงานให้เป็นขั้นตอน ตามลำดับก่อนหลัง จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงดูเด็ก และนอกจากนี้พ่อแม่ยังต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เด็ก การปรับทัศนคติที่ดีต่อเด็ก มีความเข้าใจเด็ก ให้กำลังใจ และไม่ตำหนิเด็กด้วย

• คุณครูที่โรงเรียนจะช่วยเด็กได้มากในการให้เวลากับเด็ก หาสิ่งที่เด็กชอบมาให้ทำ พร้อมทั้งให้กำลังใจ คำชมเชย และรางวัลแก่เด็ก

สมาธิสั้นหากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อย ขาดความภาคภูมิใจและความมั่นใจในตนเอง คิดว่าตัวเองมีปมด้อย ไม่เก่ง ไม่ดีเหมือนคนอื่น ความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้จะทำให้เด็กต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ทำตัวผิดระเบียบ บางคนอาจถึงขั้นหันไปใช้ยาเสพติดเพื่อชดเชยความรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก ซึ่งการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้

การรักษาโรคสมาธิสั้นอาจต้องใช้เวลาในการรักษาตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ซึ่ง โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่ นอกจากจะได้รับการรักษาโดยยาแล้ว การรู้จักและยอมรับตนเองว่าเป็นโรคสมาธิสั้นและพยายามจัดระเบียบให้กับตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญในการรักษา ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงานได้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและอาจจะมีโอกาสได้แสดงความสามารถพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมาก็ได้ เพราะคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีสติปัญญาปกติ จนถึงดีเลิศ ตัวอย่างบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้ที่สามารถคิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่ง อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ บุคคลเหล่านี้ล้วนมีประวัติว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งสิ้น แต่พวกเขาเหล่านี้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเขาสามารถแสดงศักยภาพที่โดดเด่นของเขาออกไปทั่วโลก

ดังนั้น สมาธิสั้นรักษาได้ โดยเฉพาะการรักษาที่เริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กจะช่วยเหลือให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ และครู ร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษา ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และพยายามทำความเข้าใจอาการของโรค ทำความเข้าใจเด็ก ลดทัศนคติที่ไม่ดี และลดคำตำหนิติเตียน รวมถึงการให้กำลังใจ ให้ความสำคัญแก่เด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้

นอกจากการร่วมมือช่วยเหลือกันระหว่างพ่อแม่และครูแล้ว ความเข้าใจของบุคคลในสังคมก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากเราจะช่วยเหลือเด็กแล้วเรายังช่วยเหลือครอบครัวของเขาด้วย แล้วอาจจะส่งผลทำให้เด็กบางคนได้แสดงความสามารถพิเศษของเขาออกมา เขาอาจจะมีความสามารถโดดเด่นเช่น โมสาร์ทหรือบุคคลสำคัญอื่นๆ ก็เป็นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคตด้วย

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม